Line 209: |
Line 209: |
| == 5. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาในด้าน… == | | == 5. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาในด้าน… == |
| ในหัวข้อนี้เราจะศึกษาระดับของผลกระทบที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและวิกฤตทางชีววิทยาที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพทั่วทุกมุมโลก ผลกระทบเหล่านี้จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการลงมือแก้ปัญหาในปัจจุบัน | | ในหัวข้อนี้เราจะศึกษาระดับของผลกระทบที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและวิกฤตทางชีววิทยาที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพทั่วทุกมุมโลก ผลกระทบเหล่านี้จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการลงมือแก้ปัญหาในปัจจุบัน |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 226: |
Line 227: |
| | | |
| ในปลายปี 2020 นี้ ประมาณ 7 ล้านคนใน 104 ประเทศและอาณาเขต (ดินแดนเขตการปกครองที่ยังไม่ได้รับเอกราชของประเทศใดประเทศหนึ่ง) จะต้องอาศัยอยู่กันอย่างกระจัดกระจายซึ่งเป็นผลมาจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2019 และในปีก่อนหน้านี้ 5 ประเทศหลัก ๆ ซึ่งมีจำนวนของผู้ลี้ภัยอันเนื่องมาจากภัยพิบัติภายในประเทศที่มากที่สุด ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน (1.1 ล้านคน) อินเดีย (929,000 คน), ปากีสถาน (806,000 คน), เอธิโอเปีย (633,000 คน) และประเทศซูดาน (454,000 คน) ในปี 2017 ชาวอเมริกัน 1.5 ล้านคนต้องทำการอพยพอย่างถาวรและชั่วคราวไปยังเมืองอื่น ๆ ในประเทศของตนเนื่องมาจากภัยพิบัตินี้ | | ในปลายปี 2020 นี้ ประมาณ 7 ล้านคนใน 104 ประเทศและอาณาเขต (ดินแดนเขตการปกครองที่ยังไม่ได้รับเอกราชของประเทศใดประเทศหนึ่ง) จะต้องอาศัยอยู่กันอย่างกระจัดกระจายซึ่งเป็นผลมาจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2019 และในปีก่อนหน้านี้ 5 ประเทศหลัก ๆ ซึ่งมีจำนวนของผู้ลี้ภัยอันเนื่องมาจากภัยพิบัติภายในประเทศที่มากที่สุด ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน (1.1 ล้านคน) อินเดีย (929,000 คน), ปากีสถาน (806,000 คน), เอธิโอเปีย (633,000 คน) และประเทศซูดาน (454,000 คน) ในปี 2017 ชาวอเมริกัน 1.5 ล้านคนต้องทำการอพยพอย่างถาวรและชั่วคราวไปยังเมืองอื่น ๆ ในประเทศของตนเนื่องมาจากภัยพิบัตินี้ |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 243: |
Line 245: |
| | | |
| ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงแหล่งอาหารจะสูงขึ้นที่อุณหภูมิ 1.2 ถึง 2.5 องศาเซลเซียส และสูงขึ้นมากเมื่ออุณหภูมิขึ้นไปถึง 3-4 องศา โดยในระดับอุณหภูมิ 4 องศาจะเข้าสู่ภาวะหายนะ การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นคาดว่าจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณโปรตีนและปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในธัญพืชหลัก ๆ ที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณอาหารและความมั่นคงด้านทางอาหาร | | ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงแหล่งอาหารจะสูงขึ้นที่อุณหภูมิ 1.2 ถึง 2.5 องศาเซลเซียส และสูงขึ้นมากเมื่ออุณหภูมิขึ้นไปถึง 3-4 องศา โดยในระดับอุณหภูมิ 4 องศาจะเข้าสู่ภาวะหายนะ การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นคาดว่าจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณโปรตีนและปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในธัญพืชหลัก ๆ ที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณอาหารและความมั่นคงด้านทางอาหาร |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 258: |
Line 261: |
| | | |
| พื้นที่ชุ่มน้ำได้สูญหายไปทั่วโลกซึ่งเป็นการคุกคามคุณภาพของน้ำในทุกภูมิภาคทั่วโลก | | พื้นที่ชุ่มน้ำได้สูญหายไปทั่วโลกซึ่งเป็นการคุกคามคุณภาพของน้ำในทุกภูมิภาคทั่วโลก |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 269: |
Line 273: |
| | | |
| ในปี 2020 มีหน้าดินน้อยกว่า 1 ส่วน 4 ของโลกที่ยังคงใช้ประโยชน์ตามธรรมชาติได้โดยที่ระบบความหลากหลายทางชีวภาพไม่ถูกทำลาย โดย 1 ส่วน 4 ของหน้าดินนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นภูเขา บริเวณแห้งแล้งและบริเวณที่หนาวเย็น ดังนั้นจึงมีปริมาณประชากรอาศัยอยู่น้อย ทำให้การเปลี่ยนแปลงหน้าดินเกิดขึ้นไม่มาก | | ในปี 2020 มีหน้าดินน้อยกว่า 1 ส่วน 4 ของโลกที่ยังคงใช้ประโยชน์ตามธรรมชาติได้โดยที่ระบบความหลากหลายทางชีวภาพไม่ถูกทำลาย โดย 1 ส่วน 4 ของหน้าดินนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นภูเขา บริเวณแห้งแล้งและบริเวณที่หนาวเย็น ดังนั้นจึงมีปริมาณประชากรอาศัยอยู่น้อย ทำให้การเปลี่ยนแปลงหน้าดินเกิดขึ้นไม่มาก |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 287: |
Line 292: |
| == <big>6. สถานการณ์และแนวทางต่าง ๆ</big> == | | == <big>6. สถานการณ์และแนวทางต่าง ๆ</big> == |
| สถานการณ์จำลองเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและแนวทางการบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศสำหรับอนาคตมีอะไรบ้าง รวมถึงมีความท้าทายและความไม่แน่นอนอย่างไร | | สถานการณ์จำลองเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและแนวทางการบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศสำหรับอนาคตมีอะไรบ้าง รวมถึงมีความท้าทายและความไม่แน่นอนอย่างไร |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 302: |
Line 308: |
| * ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษระดับ “ต่ำ” โดยชาวโลกร่วมมือกันตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไปในการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ จะพบว่าการปล่อยคาร์บอนไดสุทธิจะไปถึงระดับที่เป็น “ศูนย์” (net-zero) ได้ภายในปี 2075 และอุณหภูมิของโลกจะขึ้นไปที่ระดับ 1.3 – 2.4 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 | | * ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษระดับ “ต่ำ” โดยชาวโลกร่วมมือกันตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไปในการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ จะพบว่าการปล่อยคาร์บอนไดสุทธิจะไปถึงระดับที่เป็น “ศูนย์” (net-zero) ได้ภายในปี 2075 และอุณหภูมิของโลกจะขึ้นไปที่ระดับ 1.3 – 2.4 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 |
| * ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษในระดับ “ต่ำมาก” การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากลดลงอย่างรวดเร็วจากปี 2020 และจะเข้าสู่ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ได้ประมาณปี 2050 โดยระดับอุณหภูมิของโลกจะขึ้นไปอยู่ที่ 1.0 – 1.8 องศาเซลเซียสในช่วงท้ายของศตวรรษนี้ | | * ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษในระดับ “ต่ำมาก” การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากลดลงอย่างรวดเร็วจากปี 2020 และจะเข้าสู่ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ได้ประมาณปี 2050 โดยระดับอุณหภูมิของโลกจะขึ้นไปอยู่ที่ 1.0 – 1.8 องศาเซลเซียสในช่วงท้ายของศตวรรษนี้ |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 331: |
Line 338: |
| | | |
| การขาดการร่วมมือกันในระดับโลก รวมถึงการมีวิถีชีวิตที่เพิ่มการใช้คาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา หากการให้คำมั่นสัญญาในปัจจุบันภายใต้ข้อตกลงปารีสในการตั้งเป้าหมายของแต่ละประเทศในการลดปัญหาโลกร้อนบรรลุผลได้ โลกเราก็ยังคงจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาได้ และอาจจะก้าวขึ้นไปถึงอุณหภูมิระดับ 3 องศา ซึ่งจะเกินเป้าหมายของข้อตกลงปารีสไปมาก และยังเกินระดับที่จะถือว่าปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติด้วย | | การขาดการร่วมมือกันในระดับโลก รวมถึงการมีวิถีชีวิตที่เพิ่มการใช้คาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา หากการให้คำมั่นสัญญาในปัจจุบันภายใต้ข้อตกลงปารีสในการตั้งเป้าหมายของแต่ละประเทศในการลดปัญหาโลกร้อนบรรลุผลได้ โลกเราก็ยังคงจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาได้ และอาจจะก้าวขึ้นไปถึงอุณหภูมิระดับ 3 องศา ซึ่งจะเกินเป้าหมายของข้อตกลงปารีสไปมาก และยังเกินระดับที่จะถือว่าปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติด้วย |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 338: |
Line 346: |
| | | |
| นักวิทยาศาสตร์หลายคนกังวลว่าการให้คำมั่นสัญญาในอนาคตเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ดังเช่นการเอาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ จะทำให้การลงมือทำในสิ่งที่จะต้องทำเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะยิ่งช้าไปอีก ในอดีตอุตสาหกรรมที่มีอำนาจมากเคยใช้การให้คำมั่นสัญญาในเรื่องการใช้เทคโนโลยีผลิตน้ำมันและเชื้อเพลิงเพื่อที่จะได้มีความชอบธรรมในการผลิตต่อไป เทคโนโลยีเฉกเช่น “ตัวดักจับคาร์บอน” ยังไม่สามารถเกิดขึ้นในระดับที่ใช้งานได้จริงได้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงเกิดคำถามสำคัญตามมาว่าเราจะพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านั้นได้จริงหรือไม่ | | นักวิทยาศาสตร์หลายคนกังวลว่าการให้คำมั่นสัญญาในอนาคตเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ดังเช่นการเอาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ จะทำให้การลงมือทำในสิ่งที่จะต้องทำเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะยิ่งช้าไปอีก ในอดีตอุตสาหกรรมที่มีอำนาจมากเคยใช้การให้คำมั่นสัญญาในเรื่องการใช้เทคโนโลยีผลิตน้ำมันและเชื้อเพลิงเพื่อที่จะได้มีความชอบธรรมในการผลิตต่อไป เทคโนโลยีเฉกเช่น “ตัวดักจับคาร์บอน” ยังไม่สามารถเกิดขึ้นในระดับที่ใช้งานได้จริงได้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงเกิดคำถามสำคัญตามมาว่าเราจะพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านั้นได้จริงหรือไม่ |
| + | |
| | | |
| | | |
Line 361: |
Line 370: |
| | | |
| วงจรสะท้อนกลับนี้ ไม่ได้เป็นระบบแน่นอน ซึ่งหมายความว่าวงจรสะท้อนกลับนี้สามารถเกิดได้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน และเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำนายได้ นั่นจึงหมายความว่าในปัจจุบันเราจึงอาจจะอยู่ในช่วงของจุดพลิกผันแล้วก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโลกที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ | | วงจรสะท้อนกลับนี้ ไม่ได้เป็นระบบแน่นอน ซึ่งหมายความว่าวงจรสะท้อนกลับนี้สามารถเกิดได้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน และเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำนายได้ นั่นจึงหมายความว่าในปัจจุบันเราจึงอาจจะอยู่ในช่วงของจุดพลิกผันแล้วก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโลกที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ |
| + | |
| | | |
| | | |
| ในอีก 10 ปีข้างหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่วิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีที่สุดในภาวะปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะยังคงเป็นไปได้ที่จะเราจะไม่สามารถทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเข้าใจนี้สร้างความรู้สึกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่คงยังมีโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จในการแก้ปัญหา ยังคงมีเวลาพอที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ ถ้ามีการกระทำอย่างจริงจังเกิดขึ้นในขณะนี้ | | ในอีก 10 ปีข้างหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่วิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีที่สุดในภาวะปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะยังคงเป็นไปได้ที่จะเราจะไม่สามารถทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเข้าใจนี้สร้างความรู้สึกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่คงยังมีโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จในการแก้ปัญหา ยังคงมีเวลาพอที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ ถ้ามีการกระทำอย่างจริงจังเกิดขึ้นในขณะนี้ |
| + | |
| + | == 7. การกระทำอะไรที่ได้ดำเนินการไปแล้ว == |
| + | 6 ปีผ่านมาแล้วหลังจากที่ได้มีการสร้างข้อตกลงปารีส มีการดำเนินงานอย่างไรบ้างของประเทศต่าง ๆ ในโลก เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการลดภาวะการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอะไรที่พวกเราจำเป็นต้องทำให้มากกว่านี้ |
| + | |
| + | |
| + | <big>การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน</big> |
| + | |
| + | หนึ่งในการกระทำที่สำคัญที่สุดสาหรับทศวรรษนี้คือการเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานทดแทน แม้ว่าการเติบโตของพลังงานทดแทนจะสำคัญในการจะทำให้โลกเราออกจากการใช้พลังงานฟอสซิลแต่การเพิ่มขึ้นของพลังงานทดแทนก็ก่อให้เกิดการใช้พลังงานทุกอย่างมากขึ้นตามไปด้วย |
| + | |
| + | พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการใช้พลังงาน การลดพลังงานถ่านหินเป็นจำนวน 70% ให้ได้ภายในปี 2030 หมายถึงการเพิ่มพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมให้มากถึง 5 เท่า ซึ่งเท่ากับการเลิกใช้พลังงานถ่านหินและการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 2,400 แห่งทั่วโลกภายในศตวรรษหน้า การใช้มาตรการเพื่อเปลี่ยนการใช้พลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานทดแทนมักจะเกิดค่าใช้จ่ายสูง แต่การทำให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศลดน้อยลงได้นั้น มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการที่มนุษย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่มาก |
| + | |
| + | นอกจากนี้ มนุษย์จะได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เช่น การลดปริมาณมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมักเกิดจากการใช้น้ำมันและยานพาหนะ |
| + | |
| + | ในปัจจุบันพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าโรงถ่านหินในหลาย ๆ ประเทศ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ช่วยให้มนุษย์เสียค่าไฟถูกที่สุดเท่าที่เคยมีมา |
| + | |
| + | การนำโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานกลับมาใช้ใหม่ในช่วงแรกนี้มีความจำเป็นต่อการให้คำมั่นสัญญาในข้อตกลงปารีส งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การปล่อยให้แหล่งพลังงานฟอสซิลที่มีอยู่ถูกนำมาใช้จนกระทั่งถึงอายุขัยที่คาดหวังไว้ จะทำให้ไม่สามารถรักษาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่า 1.5 และ 2 องศาเซลเซียสได้ |
| + | |
| + | การเพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาดมีความสำคัญต่อการบรรลุถึงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และในขณะเดียวกันยังมีความสำคัญต่อการจำกัดภาวะโลกร้อน พลังงานสะอาดนี้สามารถลดมลพิษทางอากาศทั้งในร่มและกลางแจ้ง ความยากจน รวมไปถึงการบริการหลัก เช่น การสูบน้ำ การใช้แสงสว่างในครัวเรือน |
| + | |
| + | การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2040 สิ่งนี้จำเป็นต้องมีการเพิ่มเข้าไปในเรื่องต่าง ๆ เช่น การขนส่ง (รถยนต์ไฟฟ้า) ด้านครัวเรือน เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน รวมไปถึงประสิทธิภาพจากโรงงานอุตสาหกรรม ครัวเรือนทั่วโลกจะสามารถประหยัดไปได้มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในเรื่องของบิลค่าใช้จ่ายจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สธรรมชาติเพื่อการหุงต้มและเครื่องทำความร้อน รวมไปถึงเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ |
| + | |
| + | |
| + | <big>การอนุรักษ์และการรักษา</big> |
| + | |
| + | ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นดิน มลพิษทางน้ำและทางอากาศนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกันทั้งหมด การท้าทายที่สำคัญ คือ การตระหนักถึงการเชื่อมโยงกันของเหตุการณ์ทั้งหมดนี้และเพื่อให้มั่นใจว่าการกระทำที่จะแก้ปัญหาสิ่งหนึ่งจะไม่มีผลกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างไม่คาดคิด เช่น การแทนที่การปลูกพืชพันธุ์พื้นเมืองด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการจัดหาพลังงานชีวภาพ หรือ การทำลายระบบนิเวศเพื่อที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทดแทน การปลูกป่าขนาดใหญ่ด้วยพืชพื้นเมืองเป็นการแก้ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นดินและมลพิษทางน้ำและทางอากาศไปพร้อม ๆ กัน |
| + | |
| + | การรักษาระบบนิเวศเป็นการเพิ่มความสามารถของป่า มหาสมุทรและดิน ที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกวันนี้ธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวที่สามารถดึงดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจานวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่ปลดปล่อยมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกในปริมาณที่เท่ากันระหว่างระบบนิเวศบนบกและมหาสมุทร ส่วนที่เหลือยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศและเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน ปัจจุบันนี้ป่าไม้ได้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 1 ใน 4 ของปริมาณที่ปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งยังคงมีศักยภาพในการกักเก็บได้มากกว่านั้นมาก |
| + | |
| + | การเกษตรกรรมเป็นตัวผลักดันที่สำคัญยิ่งต่อการสูญเสียความหลากหลายทางด้านชีวภาพและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงจากระบบการผลิตอาหารเป็นการใช้วิธีทางเกษตรกรรมโดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวช่วย เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการรักษาระบบนิเวศวิทยาทางธรรมชาติและความสามารถของดินที่จะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเกษตรที่ยั่งยืนมีความสามารถในการอนุรักษ์และรักษาดินและระบบนิเวศ ทั้งยังช่วยปรับปรุงความหลากหลายทางด้านชีวภาพของท้องถิ่นมากกว่าที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เสื่อมสภาพลง เกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรหญิง คือความท้าทายอย่างหนึ่งในการบรรลุความสำเร็จในเรื่องความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารอย่างยั่งยืนและมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบทบาททางการเงิน การศึกษาและการอบรม รวมไปถึงเทคโนโลยีและสารสนเทศ |
| + | |
| + | |
| + | <big>จิตสำนึกต่อโลก</big> |
| + | |
| + | จากรายงานพิเศษเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน 1.5 องศาเซลเซียสของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (IPCC) ในปี 2018 และหน่วยงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการของระบบนิเวศ (Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services-IPBES) ซึ่งประเมินในปี 2019 ได้กล่าวว่าจิตสำนึกของโลกที่เกี่ยวกับวิกฤตทางภูมิอากาศและวิกฤตระบบนิเวศได้เพิ่มมากขึ้นมากมายอย่างเห็นได้ชัด |
| + | |
| + | ในปี 2021 นี้ สหประชาชาติได้ตีพิมพ์ผลของการโหวตสภาพภูมิอากาศของประชาชนจำนวน 1.2 ล้านคนทั่วโลก เป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ประชาชนได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยมีหลายประเทศที่ได้เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ |
| + | |
| + | ผลของการโหวตสภาพภูมิอากาศของประชาชนเกือบจะ 64 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนใน 50 ประเทศทั่วโลก เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนของโลก นี่คือข้อมูลที่สำคัญสำหรับรัฐบาลทุกประเทศที่จะมุ่งไปสู่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในขณะนี้ |
| + | |
| + | การโหวตสภาพภูมิอากาศของประชาชนพบได้ว่ามีการสนับสนุน สูงทั่วโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าและพื้นดิน การใช้พลังงานทดแทน การใช้เทคนิคทางด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการลงทุนในธุรกิจสีเขียวหรือองค์กรที่จัดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
| + | |
| + | ในประเทศที่มีการตัดไม้ทำลายป่าในระดับสูง เช่น ประเทศบราซิล อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินานั้น มีประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้ให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์ป่าและผืนดิน และในอินเดีย การอนุรักษ์ป่าและดินถือเป็นนโยบายที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสามรองจากเรื่องการใข้พลังงานทดแทนและการทำฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อภูมิอากาศ |
| + | |
| + | และประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับสูงเนื่องมาจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องทำความร้อน ได้แก่ ประเทศอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี อเมริกาใต้ ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ได้สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน |
| + | |
| + | ผลของการสำรวจนี้สำคัญอย่างมากเพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างกว้างขวางต่อการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งผลสำรวจนี้ได้มาจากกลุ่มประชาชนจำแนกตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา เชื้อชาติและเพศ |
| + | |
| + | นอกเหนือจากการสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงและสิทธิพลเมืองแล้วนั้น แต่ละบุคคลสามารถที่จะเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปสู่การใช้คาร์บอนระดับต่ำในอนาคตได้โดยการกระทำของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคลมีบทบาทในการที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประชากรในหลายประเทศจะมีบทบาทในการลดก๊าซนี้มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละคน เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตัวเอง เช่น การทานอาหารให้น้อยลงหรือไม่ทานเนื้อสัตว์ และพฤติกรรมในการเดินทาง เช่น ลดการขับรถให้น้อยลงหรือลดการเดินทางโดยเครื่องบินให้น้อยลง หรือลดพฤติกรรมการกินทิ้งกินขว้าง และลดพฤติกรรมในการใช้น้ำและพลังงานที่มากเกินไป พฤติกรรมเหล่านี้สามารถช่วยอนุรักษ์และปกป้องความหลากหลายทางด้านชีวภาพ ประชาชนทุกคนควรที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยการปลูกจิตสานึกในชุมชนของตนเอง |
| + | |
| + | 8. การกระจายความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นธรรม |
| + | |
| + | ในศตวรรษที่ผ่านมา บางประเทศมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมากและประเทศอื่นเริ่มทำการปล่อยก๊าซพิษนี้ตามลำดับ ซึ่งเหตุผลของการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซทั่วโลกทุก ๆ ปีในขณะนี้ เป็นสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง ทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซพิษในศตวรรษนี้เกือบทั้งหมดจะมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา |
| + | |
| + | ประเทศร่ำรวยอย่าง เช่น ประเทศอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปได้จ้างให้ประเทศจีนและประเทศอินเดียทำการผลิตระบบอาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ชั้นบรรยากาศโลก เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประชาชนทั่วโลกใช้นั้นผลิตมาจากประเทศจีน สิ่งที่ประเทศร่ำรวยได้ทำนี้ เป็นเพียงการย้ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปยังประเทศจีนและอินเดีย มากกว่าจะเป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง |
| + | |
| + | ความแตกต่างในเรื่องของผลกระทบระหว่างประเทศที่ต้องรับผิดชอบสูงสุดต่อสาเหตุการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากผลกระทบนี้เป็นการยากที่จะเข้าใจได้ ประเทศที่ร่ำารวยที่สุดมีเพียง 1% ของประชากรโลก แต่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่า 2 เท่าของประชากรโลกที่เป็นคนจน ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น มีทรัพยากรที่ดีที่สุดเพื่อเป็นผู้นำในขณะนี้ สถานการณ์ของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันนี้ทำให้ข้อตกลงปารีสเรียกร้องให้มี “การลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็ว” เพื่อให้เกิดความสำเร็จ”บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความพยายามที่จะลดความยากจนลง” |
| + | |
| + | ทุกวันนี้ มีการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแก้ไขสภาพภูมิอากาศได้ถูกนำมาอภิปรายในข้อตกลงปารีสเรื่องการปรับตัวอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับชุมชนต่าง ๆ ในส่วนต่าง ๆ ของโลก |
| + | |
| + | ความท้าทายในการปรับตัวต่อเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงนั้นจะยากลำบากกว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากว่าผลกระทบจากเรื่องนี้มีความรุนแรงกว่าในประเทศเหล่านี้ และหลาย ๆ ประเทศไม่มีเงินทุน โครงสร้างพื้นฐาน หรือความสามารถทางเทคโนโลยีที่เพียงพอในการปรับตัว |
| + | |
| + | สิ่งนี้จะถูกนำมาปรับใช้ตามมาตรการของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องโอกาสและความเท่าเทียมหรือที่เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิในการพัฒนาตนเอง |
| + | |
| + | ยิ่งโลกของเราร้อนมากขึ้นเท่าไร ภาคส่วนต่าง ๆ ยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศมีมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเกิดความยากลำบากในการปรับตัว ชุมชนที่ยากจนและถูกกีดกัน ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือยากจนก็ตาม มักไม่มีความสามารถพื้นฐานที่จะปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น |
| + | |
| + | ในหลาย ๆ ครั้ง การปรับตัวเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง เช่น ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้อีกต่อไป เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแหล่งน้ำ โดยทั่วไปแล้วประเทศที่กำลังพัฒนามีความเปราะบางที่สุดต่อผลกระทบของเรื่องนี้ รวมทั้งยังมีปัญหาด้านเงินทุนและเทคโนโลยีอีกด้วย |
| + | |
| + | นอกเหนือไปจากนี้ การถูกคุกคามทางสังคมของชุมชนเหล่านี้ถูกผูกติดกับกระบวนการที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ได้แก่การล่าอาณานิคม การนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติระบบนิเวศวิทยาเสื่อมลง ซึ่งสิ่งนี้เป็นการสนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นและการควบรวมของพลังงานฟอสซิลในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ |
| + | |
| + | ประเทศที่ร่ำรวยมากกว่าครอบครองทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าประเทศที่ยากจนเพื่อใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายความว่าประเทศที่ยากจนต้องได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินและด้านเทคโนโลยี ภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศวิทยา นั่นหมายถึงความท้าทายของการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่สูงขึ้น |
| + | |
| + | 127 ประเทศรวมถึงประเทศอินเดียจากทั้งหมด 196 ประเทศที่ให้คาสัตยาบันต่อความตกลงปารีส เป็น ประเทศที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขบางส่วนหรือทั้งหมด นั่นหมายถึงว่า ถ้าหากปราศจากการสนับสนุนทางด้านการเงินและทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศแล้ว คามั่นสัญญาที่ 127 ประเทศนี้ได้ให้ไว้ในความตกลงปารีสอาจจะไม่มีผล. คามั่นสัญญาภายใต้ข้อตกลงภายใต้ |
| + | |
| + | เงื่อนไขบางส่วนหรือเงื่อนไขทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่แล้วถูกหยิบยกขึ้นมาโดยประเทศที่ขาดแคลนความพร้อมทางการเงิน ศักยภาพทางเทคโนโลยี และความพร้อมขององค์กรของประเทศนั้นที่จะทาการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์. |
| + | |
| + | การให้คำมั่นสัญญาของประเทศที่กล่าวมานี้อาจไม่สามารถสาเร็จได้เพราะว่าการสนับสนุนระหว่างประเทศที่เกิดเป็นรูปเป็นร่างแล้วมีเพียงเล็กน้อย. |
| + | |
| + | เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบระหว่างรุ่นของคน หมายถึงคนรุ่นเก่าได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยมีผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในขณะที่คนรุ่นใหม่กาลังได้รับผลที่ตามมาของการกระทำนี้ |
| + | |
| + | == 9 กลาสโกว์และนอกเหนือจากนั้น: การสร้างคาร์บอนต่ำในอนาคต/อะไรที่จำเป็นที่จะต้องทำต่อไป == |
| + | การฉุกเฉินเร่งด่วนของอากาศและระบบนิเวศได้อยู่กับเราและมีสภาพที่เลวร้ายลงเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง และมนุษย์ยังคงทาลายความหลากหลายทางชีวภาพ. ความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเลวร้ายขึ้นที่คาดการณ์ไว้เมื่อทศวรรษก่อนหน้านี้จะเกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว. เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายของการจากัดภาวะโลกร้อนสูงสุดที่อุณหภูมิ 1.5 องศานั้น เราจาเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างหนักภายในปี 2020 ถึง 2030 และในทศวรรษข้างหน้า |
| + | |
| + | 5 ปีที่แล้วมีความสาเร็จในด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์. พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้กลายเป็นพลังงานที่มีราคาถูกกว่าและนาไปใช้ได้ง่ายกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆมากกว่าที่คาดไว้. รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นยานพาหนะที่หาได้ง่ายและมีอยู่ทั่วไปมากกว่าในอดีต และเทคโนโลยีคาร์บอนต่ามีการแข่งขันกันสูงในตลาดที่มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นขณะนี้. มีความจาเป็นที่ต้องลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนอุตสาหกรรมอย่างเช่น อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ยากที่สุดที่จะใช้พลังงานที่ไม่ให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์. รายงานในปี 2018 ของอุตสาหกรรมการบินพบว่า แผนการที่จะปรับปรุงเทคโนโลยีและการปฏิบัติการทางการบินจะไม่ทาให้ความต้องการพลังงานฟอสซิลที่คาดหวังไว้และการปลดปล่อยก๊าซจากพลังงานฟอสซิลนี้ลดลงได้ รวมทั้งอุตสาหกรรมหนักได้มีแผนการที่กาลังจะเกิดขึ้นในการดาเนินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก |
| + | |
| + | ขณะนี้จากการที่ความตกลงปารีสได้ตั้งเป้าหมายในการที่จะลดจานวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์การประชุมของสมัชชาภาคี ณ.เมืองกลาสโกว์ คาดว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างแผนงานในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ความตกลงปารีสได้ตั้งเอาไว้. คาถามที่สาคัญสาหรับการประชุมนี้จะรวมไปถึงคาถามที่ว่า ทาอย่างไรที่จะเปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลและทาอย่างไรที่จะเปลี่ยนจากการให้คามั่นสัญญาในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ไปเป็นการ |
| + | |
| + | กระทาอย่างจริงจังและบรรลุผล. การพัฒนาในขั้นต่อไปนั้น จาเป็นต้องมีผู้นาจากทุกระดับชั้นตั้งแต่บุคคลไปจนถึงนักธุรกิจและนักลงทุนและรัฐบาล. การร่วมมือกันระหว่างส่วนบุคคล สถาบันและประเทศจะเป็นกุญแจสาคัญในเรื่องนี้ |
| + | |
| + | หนทางหนึ่งที่จะทาให้เป้าหมายของความตกลงปารีสมีความชัดเจนขึ้นจะเป็นเรื่องของการสนับสนุนให้ประเทศทุกประเทศให้คามั่นสัญญาโดยมีผลผูกพันตามกฎหมายที่จะรับผิดชอบต่อการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศของตน. ประเทศประชาคมยุโรป ประเทศเม็กซิโก นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้และประเทศอังกฤษ ได้ทาการให้คามั่นสัญญาในความตกลงปารีสโดยมีผลผูกพันตามกฎหมายแล้ว แต่ยังคงไม่ได้วางนโยบายที่จาเป็นในการที่จะบรรลุถึงคามั่นสัญญาที่ให้ไว้นี้ ซึ่งรัฐบาลมีความจาเป็นที่จะต้องให้คามั่นสัญญาโดยมีผลผูกพันตามกฎหมาย |
| + | |
| + | กุญแจที่จาเป็นในการเจรจาระหว่างการประชุมสมัชชาภาคีเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ COP26 และการประชุมเรื่องความหลากหลายทางด้านชีวภาพหรือ COP15 คือ การร่วมมือกันทางด้านการเงินและเทคโนโลยี. เกือบทุกประเทศที่กาลังพัฒนาต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงินเพื่อที่จะลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแก้ไขปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์และรักษาความหลากหลายทางด้านชีวภาพ |
| + | |
| + | คาถามที่สาคัญอีกเรื่องหนึ่งในทศวรรษหน้าจะเป็นคาถามว่า เราควรจะกาหนดกรอบวิกฤตทางภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาอย่างไรเพื่อที่จะไม่ทาลายความหวังของทุกคนและเราควรจะสร้างบรรยากาศที่เกิดความกลัว การสร้างความสามัคคีระหว่างมนุษย์และโลกของเรา การรวบรวมทัศนคติในหลายๆมุมมอง รวมไปถึงทัศนคติของชนพื้นเมืองซึ่งนาไปสู่การแก้ไขปัญหาภูมิอากาศและชีวภาพ จะเป็นสิ่งสาคัญยิ่งในการที่จะบรรลุเป้าหมายโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนองค์กรสหประชาชาติ ซึ่งรวมไปถึงเป้าหมายเกี่ยวกับภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสัญญาว่าจะ”ไม่ทิ้งคนใดคนหนึ่งไว้ข้างหลัง”ในการที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นสังคมที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น |
| + | |
| + | ลักษณะของงานจะเกี่ยวกับการใช้เรื่องราวจากผู้ให้สื่อข้อมูลที่ไว้ใจได้รวมไปถึงข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่านี่คืองานที่จะสามารถบรรลุถึงความสาเร็จได้หรือกาลังที่จะสาเร็จ. ให้ตระหนักถึงความสาเร็จที่ได้รับในอดีตเพื่อที่ว่าความสาเร็จแม่อดีตเพื่อที่จะนาไปสู่เส้นทางการกระทาในอนาคต และเพื่อที่จะให้เกิดความกดดันทุกภาคส่วน ควรที่จะมีการให้รางวัลสาหรับความก้าวหน้าที่นาไปสู่ความสาเร็จ |
| + | |
| + | เป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรจะเริ่มที่จะตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิกฤตถ้าสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาและคนเริ่มที่จะพัฒนาเป้าหมายและการกระทาร่วมกัน |
| + | |
| + | == <big>'''อภิธานศัพท์'''</big> == |
| + | '''Adaptation''' |
| + | |
| + | การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
| + | |
| + | '''Carbon budget''' |
| + | |
| + | ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ประเทศ บริษัท หรือองค์กร ได้ตกลงกันแล้วว่าเป็นปริมาณก๊าซที่มากที่สุด ซึ่งจะถูกผลิตขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง |
| + | |
| + | '''Carbon dioxide (CO2)''' |
| + | |
| + | ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ประกอบไปด้วยคาร์บอน 10 ส่วนและออกซิเจน 2 ส่วน) |
| + | |
| + | '''Conference of the Parties (COP)''' |
| + | |
| + | การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ตัดสินใจ ตรวจสอบและทบทวนการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) |
| + | |
| + | '''Decarbonizing''' |
| + | |
| + | การลดจำนวนของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยผ่านการใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำหมายเพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยน้อยลงสู่ชั้นบรรยากาศ |
| + | |
| + | '''Economic growth''' |
| + | |
| + | การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณของสินค้าและบริการในตลาด เช่น เศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจวัดได้จาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP (จีดีพี) |
| + | |
| + | '''Equity''' |
| + | |
| + | หลักการที่กำหนดขึ้นซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไปบนความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง |
| + | |
| + | กันระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมสากลที่ครอบคลุมเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้รับผิดชอบในระดับที่เท่า ๆ กัน |
| + | |
| + | '''Exploit/exploitation''' |
| + | |
| + | การใช้บุคคลหรือบางสิ่งบางอย่างโดยไม่เป็นธรรม ช่วยเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง โดยขาดการดูแลเอาใจใส่สิ่งนั้นซึ่งถูกเอารัดเอาเปรียบ |
| + | |
| + | '''Extinction''' |
| + | |
| + | การสูญพันธุ์ โดยการสูญพันธุ์นี้เกิดขึ้นเมื่อสายพันธุ์ชุดสุดท้ายที่เหลืออยู่ได้ตายลง |
| + | |
| + | '''GDP''' |
| + | |
| + | ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าที่ได้จากการผลิตสินค้าและบริการในประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง |
| + | |
| + | '''Greenland ice sheet''' |
| + | |
| + | แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นบริเวณบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่กว้างขวางครอบคลุม 1,710,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 79% ของเกาะกรีนแลนด์ เป็นบริเวณที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกต่อจากแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติก |
| + | |
| + | '''Geenhouse''' |
| + | |
| + | ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วยก๊าซ 6 ชนิดตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) คือ 1. คาร์บอนไดออกไซด์ 2. มีเทน 3. ไนตรัสออกไซด์ 4. ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ 5. ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน และ 6. เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน |
| + | |
| + | '''Indigenous people''' |
| + | |
| + | คำจำกัดความที่ชัดเจนของคำว่า “ชนพื้นเมือง” ยังไม่มีการระบุจากองค์การสหประชาชาติ แต่ตามความหมายทั่วไปนั้น ชนพื้นเมือง คือกลุ่มคนที่เป็นลูกหลานบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการเข้ามาของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่เข้ามาทีหลังกลายมาเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่าผ่านการยึดครอง ชัยชนะการรบ การย้ายมาตั้งรกรากถาวร หรือวิธีการอื่น ๆ มีการประมาณว่าจำนวนชนพื้นเมืองมีอยู่ 370 ล้านคน ซึ่งกระจายอยู่ 70 ประเทศทั่วโลก |
| + | |
| + | '''Industrial Revolution''' |
| + | |
| + | การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากการเกษตรและงานฝีมือไปสู่เศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรมและการผลิตเครื่องจักร ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 |
| + | |
| + | '''Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)''' |
| + | |
| + | คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานระหว่างรัฐบาล สหประชาชาติ ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นกลางทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ รวมถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ การเมือง เศรษฐกิจ ความเสี่ยงต่าง ๆ และทางเลือกในการรับมือ |
| + | |
| + | '''Low carbon''' |
| + | |
| + | คาร์บอนต่ำ หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิในปริมาณต่ำเข้าไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก |
| + | |
| + | '''Mitigation''' |
| + | |
| + | การบรรเทาทุกข์ การลดความเลวร้ายหรือความรุนแรงของบางสิ่งบางอย่าง |
| + | |
| + | '''Nationally determined contributions (NDC)''' |
| + | |
| + | เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยครอบคลุมถึงประเทศที่ได้ยื่นข้อตกลงเข้าร่วมในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) |
| + | |
| + | '''Negative emissions''' |
| + | |
| + | การปล่อยมลพิษเป็นลบ เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่ใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศของโลก |
| + | |
| + | '''Paris Agreement''' |
| + | |
| + | ความตกลงปารีส หรือ ข้อตกลงปารีส คือ ข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลบังคับใช้และมีผลผูกพันทางกฎหมาย ข้อตกลงนี้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี 2015 |
| + | |
| + | '''Pollution''' |
| + | |
| + | มลพิษหรือสารอันตรายที่ถูกสร้างขึ้นมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ขยะในมหาสมุทร หรือสารเคมีจากการเกษตร |
| + | |
| + | '''Scientific Revolution''' |
| + | |
| + | การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 ในระหว่างช่วงเวลานี้ ศาสตร์กลายเป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งแต่งต่างจากปรัชญาและเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ได้แทนที่ศาสนาคริสต์และกลายเป็นจุดเปลี่ยนหลักของอารยธรรมตะวันตก |
| + | |
| + | |
| + | '''<big>การแปลงอุณหภูมิอากาศจากองศาเซลเซียส (C) เป็นองศาฟาเรนไฮต์ (F)</big>''' |
| + | |
| + | 1.00C = 1.80F |
| + | |
| + | 1.20C = 2.60F |
| + | |
| + | 1.50C = 2.70F |
| + | |
| + | 2.00C = 3.60F |
| + | |
| + | 2.50C = 4.40F |
| + | |
| + | 3.00C = 5.40F |
| + | |
| + | 3.50C = 6.20F |
| + | |
| + | 4.00C = 7.20F |
| + | |
| + | 4.50C = 8.10F |
| + | |
| + | 5.00C = 8.80F |
| + | |
| + | 6.00C = 10.80F |