Community:จุลสารข้อมูล

From Global Assembly Wiki
Jump to navigation Jump to search

คำนำ

การประชุมสมัชชาโลกคือการรวมตัวกันของผู้คนในทุกประเทศทั่วโลกเพื่อถกเถียงปัญหาวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

สมัชชาพลเมืองคืออะไร

สมัชชาพลเมืองคือกลุ่มคนที่มาจากวิถีชีวิตหลากหลายมารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง เพื่อทำในสิ่งที่เป็นไปได้ เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและผู้นำทางความคิด และเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง. สมาชิกของสมัชชาพลเมืองนี้เป็นตัวแทนที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในการตั้งคำถามต่อเมืองหรือประเทศ (ในที่นี้คือต่อโลก) โดยดูจากฐานข้อมูลประชากร เช่น เพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษา

สมัชชาโลกคืออะไร

สมัชชาโลกปี 2021 ประกอบไปด้วยจำนวนสมัชชาแกนนำพลเมือง 100 ท่าน เป็นการรวมตัวของชุมชนระดับท้องถิ่นซึ่งทุกคนสามารถที่จะจัดตั้งได้ทุกพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมซึ่งผู้คนเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ในปีนี้องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดการประชุมผู้นำระดับโลก คือ 1. การประชุมของภาคีในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือที่เรียกว่าการประชุม COP26 และ 2. การประชุมเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ หรือที่เรียกว่าการประชุม COP15 โดยในการที่จะนำไปสู่การเจรจาของการประชุมของทั้งสองนี้ สมัชชาแกนนำ (Core Assembly) ได้รวบรวมคนหนึ่งร้อยคน ซึ่งเป็นตัวแทนภาพรวมของประชากรโลก ให้เรียนรู้เกี่ยวกับวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางชีวภาพ เพื่อที่จะพิจารณาไตร่ตรองและแบ่งปันข้อมูลหลักที่จะนำไปแสดงต่อที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2021 โดยในปีนี้สมัชชาโลกจะพิจารณาการจัดประชุมในหัวข้อที่ว่า “ทำอย่างไรมนุษยชาติจะแก้ไขปัญหาวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม”

คำแนะนำเกี่ยวกับจุลสารการเรียนนี้

ข้อมูลและจุลสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูลที่จะนำไปประกอบการเรียนและขั้นตอนการพิจารณาของสมัชชาโลก จุดประสงค์ของอุปกรณ์การเรียนการสอนนี้คือการให้ข้อมูลเพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถให้ความเห็นของตัวเองเกี่ยวกับวิกฤตทางภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาได้

เราหวังว่าเอกสารนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องที่ผู้เรียนจะนำไปปฏิบัติตามในปีต่อ ๆ ไป และเราสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่ท้าทายองค์ประกอบของเนื้อหาที่อยู่ภายในจุลสารเล่มนี้ และนำคำถามที่ท้าทายแนวคิดต่าง ๆ นี้รวมถึงบทสรุปของเนื้อหานี้ไปสู่สมัชชาโลก

วิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยานี้เป็นหัวข้อที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นผลมาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเมืองเศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน  ถึงแม้ว่าวิกฤตนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาในปัจจุบัน แต่ต้นเหตุหลักของปัญหาได้ย้อนกลับไปหลายชั่วอายุคนอย่างน้อยถึง 2 ศตวรรษ

จุลสารเล่มนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อที่สำคัญที่สุดบางหัวข้อซึ่งเกี่ยวกับวิกฤตทางสภาพอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา.  เอกสารการเรียนการสอนนี้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติได้มารวมตัวกันเพื่อให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการร่างจุลสารเล่มนี้ ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของสมัชชาโลก

ไม่ต้องรีบร้อนที่จะอ่านเอกสารภายในครั้งเดียว เอกสารนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและพวกเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรสมัชชาโลกและเพื่อที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

มีแหล่งข้อมูลเสริมในจุลสารเล่มนี้ ได้แก่ วิดีโอ ภาพการแสดง ภาพประกอบ และคำบอกเล่าจากประสบการณ์จริง รวมทั้งข้อมูลจุลสารนี้ในภาษาต่าง ๆ ซึ่งสามารถหาได้ที่เว็บไซต์ Wiki  ของสมัชชาโลก.

รายละเอียดเพิ่มเติมของความหมายของศัพท์ที่ไฮไลท์เป็นตัวหนา สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บริบทในตอนท้ายของจุลสารเล่มนี้ จุลสารเล่มนี้ใช้หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นค่าเซลเซียสหากต้องการแปลงค่าเซลเซียสเป็นฟาเรนไฮน์ให้ไปที่หัวข้ออภิธานศัพท์

สรุปเนื้อหาในภาพรวม

โลกของเราจะเป็นอย่างไรในปี 2050

ทารกที่เกิดทุกวันนี้จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจากการเสื่อมโทรมของธรรมชาติ ในตอนนี้คำถามไม่ใช่คำว่า “ถ้า” อีกต่อไป แต่เป็นคำถามว่า “มากเท่าไหร่” สิ่งที่เรากำลังทำทุกวันนี้ล้วนแต่มีผลกระทบต่อคนรุ่นหลังและการมีชีวิตอยู่ของเรา ว่าเราจะอยู่ไปได้นานอีกเท่าไหร่ แต่แม้ว่าอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะถูกปิดตาย เรายังคงมีเวลาที่จะกำจัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและยังคงมีเวลาที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดที่เป็นไปได้ของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

สาเหตุของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยานั้นมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์และสามารถเชื่อมต่อกับโลกทัศน์ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการที่สังคมดำเนินอยู่ทุกวันนี้  มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและขึ้นอยู่กับธรรมชาติอย่างที่สุดในการที่จะดำรงชีวิตอยู่.

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเสื่อมโทรมของดิน มลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำ มีความเชื่อมโยงกันอย่างสูง คุณภาพชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในทุกมุมโลกและโอกาสสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นใหม่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวในวันนี้เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ การกลับไปใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ และแนวทางที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาตินั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในปีต่อไป บทสำรวจ  เมื่อไม่นานนี้พบว่าประชากรส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลกสนับสนุนการกระทำที่ช่วยในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ในทุกวันนี้ก็ตาม

ประเด็นสำคัญ:

  • กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในโลก การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกนั้นมีผลต่อสภาพภูมิอากาศและรูปแบบของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้  แต่ผลกระทบบางอย่างที่เลวร้ายที่สุดในอนาคตสามารถหลีกเลี่ยงได้ ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราทุกวันนี้
  • ผลของมลภาวะเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ สายพันธุ์ของพืชและสัตว์หนึ่งล้านสายพันธุ์ถูกคุกคามจนสูญพันธุ์
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพได้ทำลายสุขภาพของมนุษย์ ความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหาร ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและสุขภาพของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีสาเหตุมาจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มากไปในชั้นบรรยากาศของเรา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญที่สุดที่มนุษย์ผลิตขึ้นมา เกิดจากการที่มนุษย์เผาพลังงานฟอสซิลเพื่อใช้ในการขนส่งและเมื่อป่าถูกทำลาย เมื่อ 200 ปีที่แล้วนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุให้โลกร้อนถึง 1.2 เซลเซียส (หรือ 2.16 องศาฟาเรนไฮต์) วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าภาวะโลกร้อนจะเกิน 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) ในศตวรรษที่ 21 นี้ ถ้ายังไม่มีการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง ฟังดูเหมือนจะตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะไม่สูงมาก แต่นี่หมายถึงการสูญเสียชีวิตและการดำรงชีวิตของมนุษยชาติอีกหลายร้อยล้านคน

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หมายความว่า โลกของเราจะประสบปัญหาคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงปัญหาไฟไหม้ป่า การล้มเหลวของพืชพันธุ์ และยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของปริมาณน้ำฝน เช่น บางพื้นที่ฝนตกมากเกินไป บางพื้นที่ฝนตกน้อยเกินไป ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาอุทกภัย

กิจกรรมของมนุษย์บนโลกมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพืช สัตว์ เชื้อรา และจุลินทรีย์ ผลของมลภาวะเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การทำลายล้างแหล่งที่อยู่อาศัยตาธรรมชาติและการแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ ส่งผลให้ 1 ใน 8 ล้านสายพันธุ์ของพืชและสัตว์ถูกคุกคามจนถึงกับสูญพันธุ์

การขาดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งของพืชและสัตว์นี้ทำให้ระบบนิเวศอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อโรคได้ง่ายรวมถึงสภาพอากาศที่สุดขั้วซึ่งนำไปสู่ความสามารถน้อยลงในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดี

  • การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพบนดินมีความรุนแรงน้อยกว่าเมื่อได้รับการจัดการโดยชนพื้นเมือง

ความหลากหลายทางชีวภาพในโลกนี้ส่วนมากเกิดขึ้นบนดินแดนบรรพบุรุษที่เป็นดินแดนดั้งเดิมของชนพื้นเมือง วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาตินับพันปีและมีความรู้อันทรงคุณค่าสำหรับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศและสรรสร้างระบบชีวภาพ อย่างไรก็ดีประวัติศาสตร์อันยาวนานของการล่าอาณานิคมและการกีดกันกลุ่มคนต่าง ๆ ย่อมหมายความว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมถูกบังคับและถูกขับไล่ออกจากดินแดนบรรพบุรุษของตนที่เคยทำมาหากินมาก่อน หรือกลายเป็นผู้ลี้ภัยทางสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นระบบความรู้ ภาษา และวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ของชุมชนคนกลุ่มนี้จึงถูกทำลายไป

  • ทุกประเทศไม่ใช่ว่าจะมีความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเท่า ๆ กัน กล่าวคือ ประเทศที่ร่ำรวยได้ผลิตก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเป็นประวัติกาล

การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศร่ำรวย อันได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป (อียู) ได้ผลิตก๊าซเรือนกระจกในประมาณมากที่สุดตลอดเวลาที่ผ่านมา และผลจากการที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นทั้งจากประเทศอย่างเช่น ประเทศจีนและประเทศอินเดีย ทำให้เกิดการพัฒนาตามประเทศที่ร่ำรวยที่กล่าวมานี้ ส่งผลให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและต้องพึ่งพาการเผาผลาญพลังงานฟอสซิลทุกปี

  • หากยังไม่มีมาตรการการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเร่งด่วนรวดเร็ว พวกเราจะไม่สามารถจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 2 เซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) ได้ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์

การมีชีวิตอยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหมายถึงความไม่แน่นอนในการมีชีวิตอยู่ หนึ่งในความไม่แน่นอนทั้งหลายเหล่านี้ก็คือแนวคิดเกี่ยวกับจุดพลิกผันหรือจุดเปลี่ยนของช่วงเวลาที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ หรือที่เรียกว่า “จุดพลิกผันของสภาพอากาศ” หรือ “จุดเปลี่ยนของสภาวะอากาศ” ที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ เมื่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลเสียหายซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้และถูกกระจายไปทั่วโลกเหมือนโดมิโน และเมื่อจุดพลิกผันนี้ได้มาถึง ก็จะเกิดเหตุการณ์ตามลำดับซึ่งนำไปสู่การสร้างโลกที่ไม่เอื้ออำนวยต่อมนุษย์และรูปแบบวิถีชีวิตของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายได้อย่างแน่นอนว่าเมื่อไรจุดพลิกผันนี้จะไปถึงจุดอิ่มตัว

  • ในปี 2015 ผู้นำโลกจะมีการพบปะกันที่เมืองปารีสเพื่อกำหนดข้อตกลงในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือ ถ้าเป็นไปได้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส
  • ตามที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPPC) ได้กล่าวไว้ว่า ภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียสจะมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จในปี 2040 อย่างไรก็ดี การตั้งเป้าหมายอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสก็ขึ้นอยู่กับระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกปล่อยออกมาในทศวรรษต่อ ๆ ไปด้วย
  • ถ้าคำมั่นสัญญาของแต่ละประเทศในปัจจุบันที่จะลดจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรลุผลสำเร็จ (ซึ่งเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จไหม) ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ภาวะโลกร้อน  จะอยู่ที่ 3 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อยอยู่ดี ถึงแม้ว่าข้อตกลงปารีสในปี 2015 มีเป้าหมายที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสก็ตาม
  • การให้คำมั่นสัญญาของประเทศยากจนต่าง ๆ ต่อข้อตกลงปารีสอาจจะไม่บรรลุผล เพราะประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ  และถึงตอนนี้การช่วยเหลือระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หลายประเทศคาดหวังว่าจะเพิ่มการให้คำมั่นสัญญาทุก ๆ 5 ปีตั้งแต่ข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ก็มีบางประเทศพบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีมาตรการดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้ถึงอุณหภูมิเป้าหมายที่ 1.5 องศาเซลเซียส จากการสำรวจของอุณหภูมิ ณ.ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนจะพุ่งสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2040 หรือเร็วกว่านี้ และจะเพิ่มสูงขึ้นถ้าไม่มีการลงมือปฏิบัติเพิ่มเติมขณะนี้

  • เกือบ 2  ใน 3 หรือ 60% ของประชากรใน 50 ประเทศในขณะนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภาวะฉุกเฉินทั่วโลก
  • เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ในช่วงทศวรรษของปี 2020 จึงเป็นช่วงที่ต้องทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ผู้นำระดับโลกจะมีการพบปะหารือกันในปีนี้ที่เมืองกลาสโกว์ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ รวมทั้งในประเทศจีน ที่ซึ่งผู้นำทั่วโลกจะพบปะพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางนิเวศวิทยา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรที่จะตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิกฤต 2 ด้านนี้ และพัฒนาเป้าหมายร่วมกัน รวมถึงการลงมือปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างจริงจัง

สืบเนื่องมาจากเป้าหมายในความตกลงปารีสที่ได้ตั้งไว้ การประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ควรจะเป็นการสร้างแผนงานอย่างละเอียดเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในความตกลงปารีสนี้ การพิจารณาที่สำคัญในระหว่างการประชุมที่เมืองกลาสโกว์ ได้แก่ จะตกลงกันอย่างไรเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะเวลาอันใกล้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โดยการเปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิล การพัฒนาคุณภาพของการใช้พลังงาน การจำกัดการตัดไม้ทำลายป่า และการหาวิธีที่จะเปลี่ยนการให้คำมั่นสัญญาที่จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ไปเป็นการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

วิกฤตสภาพภูมิอากาศคืออะไร

ในหัวข้อนี้เราจะจะสำรวจปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มันคืออะไร และอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ และทำไมถึงเป็นเรื่องด่วนที่ต้องนำมาแก้ไข

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อนในระยะยาว สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่าจำนวนก๊าซเรือนกระจกอันมากมายมหาศาลถูกปล่อยเข้าไปในชั้นบรรยากาศของโลก

ชั้นบรรยากาศเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นซึ่งครอบคลุมโลกและประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด ก๊าซเรือนกระจกเป็นกลุ่มก๊าซพิเศษ ซึ่งสามารถเปลี่ยนความร้อนของบรรยากาศและทำให้โลกได้รับความอบอุ่นจากสมดุลความร้อนนี้ ก๊าซเรือนกระจกหลักประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งผลิตมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลและการเผาป่า ก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ ทั้งสองประเภทนี้มาจากการผลิตพลังงานและการทำการเกษตร

ทางหนึ่งที่จะให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างก๊าซเรือนกระจกและอุณหภูมิ คือ ให้นึกถึงห้องขนาดเล็กในวันที่ร้อน และได้รับแดดแผดเผาของแสงอาทิตย์ลงมาสู่หลังคา แต่ว่าภายในห้องไม่มีหน้าต่างไม่มีประตูให้ความร้อนนี้ได้ออกไปเพราะว่าความร้อนไม่มีทางที่จะออกไปไหนได้ ความร้อนจึงได้สะสมรวมตัวอยู่ในห้อง เช่นเดียวกันกับการที่เมื่อก๊าซเรือนกระจกมีอยู่ล้นมากในชั้นบรรยากาศ ความร้อนส่วนเกินก็จะถูกสร้างขึ้น

ก๊าซเรือนกระจกตัวหลักที่มนุษย์สร้างขึ้นมา คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ได้สร้างความเสียหายและทำลายสิ่งที่นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ผืนดิน และตั้งแต่ 200 ปีที่แล้ว ประชากรในประเทศร่ำรวยเริ่มเผาพลังงานฟอสซิล ซึ่งทำให้อุณหภูมิชั้นนอกของโลกได้เพิ่มขึ้นถึง 1.2 องศาเซลเซียส (2.16 องศาฟาเรนไฮต์)  ถึงแม้ว่ามันดูเหมือนจะไม่มากมายนัก แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เป็นระยะเวลาที่หลาย ๆ ปีในโลกมีความร้อนสูงสุดในระยะเวลามากกว่า 100,000 ปี

แต่ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยนี้ได้มีผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปอีกนานต่อชีวิตของมนุษย์ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหมายถึงว่าประชาชนประชากรกำลังประสบปัญหาคลื่นความร้อนที่รุนแรง รวมถึงไฟป่าและการล้มตายของพืช สิ่งนี้ยังมีความหมายรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในด้านปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละวัน ในบางพื้นที่ฝนตกมากเกินไปและในบางพื้นที่ตกน้อยเกินไป  ซึ่งนำไปสู่ความแห้งแล้งและภาวะน้ำท่วม

อุทกภัย ความแห้งแล้ง คลื่นความร้อนและพายุเฮอริเคนเกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติด้วยเช่นกัน แต่วิทยาศาสตร์ทางด้านสภาพภูมิอากาศได้บอกเราว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทำให้เหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้ายมากขึ้น ซึ่งทำให้ประชากร 100 ล้านคนในโลกนี้เสี่ยงต่อการสูญเสียถิ่นที่พักอาศัย ถูกฆ่า หรือ ถูกทำร้าย หรือขาดแคลนอาหาร หรือไม่มีน้ำสะอาดที่จะบริโภค

วิกฤตทางด้านนิเวศวิทยาคืออะไร

มีผลกระทบอะไรบ้างจากการกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมโลกเดียวกัน ในหัวข้อนี้เราจะมุ่งศึกษาไปที่ประเด็นว่า ทำไมความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์ ความเจริญงอกงามและบทบาทของชุมชนพื้นเมืองทั่วโลก

มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสายใยแห่งชีวิตซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าสิ่งมีชีวิตเผ่าพันธุ์อื่นๆ สุขภาพของมนุษย์มีความเชื่อมต่อกันอย่างสลับซับซ้อนกับสุขภาพของสัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อมที่พึ่งพากัน ผลของการที่มนุษย์ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประชากรในประเทศที่ร่ำรวย ส่งผลให้ปัจจุบันนี้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์และพืช ซึ่งเป็นระดับการสูญพันธ์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา

ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงความหลากหลายทั้งหมดของชีวิตซึ่งสามารถพบได้บนพื้นแผ่นดินนี้อันได้แก่ พืช สัตว์และจุลินทรีย์. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแต่ละเผ่าพันธุ์มีบทบาทโดยเฉพาะที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของระบบนิเวศ. อย่างไรก็ดีผลของมลภาวะเป็นพิษ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยธรรมชาติและการตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ เช่น การออกหาปลามากเกินไปนั้น ทำให้ 1 ใน 8 ล้านสายพันธุ์พืชและสัตว์ทั้งหมดในโลกนี้ถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นี่มีเหตุผลมากมายที่สามารถอธิบายได้ถึงการสูญพันธุ์นี้ กล่าวคือพื้นป่าในทั่วโลกนี้เป็นที่พักอาศัยและที่พึ่งพิงของสายพันธุ์ต้นไม้ นก และสัตว์ แต่ทุก ๆ ปี ผืนป่าอันมากมายมหาศาลถูกทำลายลง เนื่องจากมนุษย์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่ามาทำการเกษตรและกิจกรรมอื่น ๆ

ระบบการผลิตอาหารและการเกษตรเป็นตัวผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะการเกษตร ซึ่งทำให้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตถึง 24,000 ชนิดถูกคุกคามอย่างเห็นได้ชัดจนกระทั่งสูญพันธุ์ ปัจจุบันนี้ แหล่งอาหารทั้งหมดของโลกหลักๆแล้วขึ้นอยู่กับสายพันธุ์พืชเพียงไม่กี่ชนิด  ในศตวรรษที่ผ่าน ๆ มา มนุษย์มุ่งสู่การผลิตอาหารที่เพิ่มขึ้นด้วยการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงมากขึ้น การผลิตทางการเกษตรที่หนักหน่วงนี้มีผลเสียต่อพื้นดินและระบบชีววิทยาของโลก ซึ่งทำให้ดินได้รับความเสื่อมโทรมและให้ผลผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา

การผลิตอาหารในปัจจุบันต้องพึ่งพาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง พลังงาน  ดินและน้ำเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ยั่งยืนอย่างเช่นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยการไถพรวนอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการกระทบต่อโครงสร้างของดินเนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์การไถคราด สิ่งเหล่านี้ทำลายที่อยู่อาศัยของนกหลายชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายประเภท แมลงหลายชนิด และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รวมไปถึงการคุกคามและการทำลายบริเวณที่สัตว์ทำรัง ให้อาหารและเพาะพันธุ์ และในที่สุดก็นำไปสู่การที่พันธุ์พืชพื้นเมืองนี้ต้องสูญพันธุ์ไป

การขาดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตของพืชและสัตว์นี้ทำให้ระบบนิเวศอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อโรคได้ง่ายและรวมไปถึงสภาพอากาศที่สุดขั้ว ซึ่งนำไปสู่ความสามารถน้อยลงที่จะสนองความต้องการและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์  ยาที่สำคัญหลายชนิดหลายประเภทซึ่งใช้สำหรับการรักษาโรคหลายโรค เช่น มะเร็ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่พบได้ในธรรมชาติ

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งหมายถึงถึงการเพิ่มขึ้นของคนที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของพวกเขา การสูญเสียความหลากหลายทางด้านชีวภาพจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทศวรรษข้างหน้า ถ้าหากไม่มีการกระทำที่เร่งด่วนที่จะหยุดยั้งและแก้ไขความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ รวมถึงการจำกัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงเรียกว่าวิกฤต

บทบาทของชนพื้นเมืองดั้งเดิมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา

โดยเฉลี่ยแล้วแนวโน้มของการสูญเสียของระบบนิเวศนั้น มีความรุนแรงน้อยกว่าในพื้นที่ที่ถูกครอบครองและจัดการโดยชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

มีการประมาณว่ามีชนพื้นเมือง 370 ล้านคนกระจายอยู่ทั่วไปใน 70 ประเทศทั่วโลก แต่แม้ว่าจะมีจำนวนเพียงเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลก  ชนเผ่าพื้นเมืองนั้นได้ปกป้องรักษาความหลากหลายทางระบบนิเวศบนดินของโลกมากถึง 80% การมีชีวิตอย่างรู้หน้าที่และรับผิดชอบ อยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกันและอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาตินี้เป็นค่านิยมหลักของวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งค่านิยมนี้มีความแตกต่างไปจากสังคมที่ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าพวกเขาในปัจจุบัน

ชนเผ่าพื้นเมืองนี้อาศัยอยู่ทั่วโลกจากมหาสมุทรอาร์กติกถึงมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พวกเขาเป็นทายาทของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่มาตั้งรกรากอาศัยอยู่ในประเทศหรือในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในช่วงเวลาที่ผู้คนจากหลายวัฒนธรรมและจากหลายชาติกำเนิดเข้ามาพักอาศัย และต่อมากลุ่มคนที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่นี้ได้กลายเป็นผู้นำจากการได้รับชัยชนะ การเข้ายึดครอง การตั้งรกราก หรือจากวิธีอื่น ๆ

ชนเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลกนี้  ได้ปกป้องรักษา 80 เปอร์เซ็นต์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางระบบนิเวศบนดิน  เช่น ในเมืองคัซโก้ (Cuzco) ประเทศเปรู ชุมชนชาวเคชัว (Quechua) ได้อนุรักษ์พันธุ์มันฝรั่ง  ซึ่งเป็นพืชหลักดั้งเดิมที่มีความหลากหลายมากกว่า 1,400 ชนิด หากไม่ได้รับการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่มีความหลากหลายเอาไว้นี้ก็จะทำให้สูญพันธุ์ไปตลอดกาล

ยังคงมีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์และแมลงอยู่อีกหลายชนิดซึ่งไม่ได้มีการเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งแม้แต่ทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่รู้ว่ามี ความหลากหลายทางชีวภาพนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะอยู่บนพื้นดินของบรรพบุรุษของชนเผ่าพื้นเมืองเป็นส่วนมาก วัฒนธรรมพื้นเมืองหลายวัฒนธรรมนี้ยังจัดให้อยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นพันปี และมีความรู้อันทรงคุณค่าเพื่ออนุรักษ์และรักษาระบบนิเวศวิทยาเพื่อการสรรสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ

อย่างไรก็ดี ชุมชนเผ่าพื้นเมืองในทั่วโลกนี้ได้ละทิ้งการทำมาหากินและละทิ้งแผ่นดินบรรพบุรุษของพวกเขาเนื่องจากการสูญเสียดินแดนให้กับโครงการพัฒนาพื้นดินขนาดใหญ่ หรือ พวกเขากลายเป็นผู้อพยพทางสภาพภูมิอากาศเนื่องด้วยภัยพิบัติทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ เช่น รัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรัฐที่มีชนพื้นเมืองมากที่สุด มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและไฟป่าบีบบังคับให้ชุมชนพื้นเมืองต้องย้ายที่อยู่

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายศตวรรษอันยาวนานของการล่าอาณานิคมและการกีดกันกลุ่มคนต่าง ๆ เกือบ 3 เท่าของชนเผ่าพื้นเมืองมีแนวโน้มที่จะมีชีวิตอาศัยอยู่อย่างยากจนข้นแค้นเป็นอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง  วิกฤตด้านความหลากหลายทางชีวภาพมีความผูกพันธ์กับอนาคตของวัฒนธรรมที่หลากหลายอันเป็นเอกลักษณ์  รวมไปถึงระบบองค์ความรู้ ภาษา และอัตลักษณ์

ทำไมเราถึงตกอยู่ในวิกฤติภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

ในหัวข้อนี้เราจะทำการค้นหาว่า ทำไมบางโลกทัศน์ที่ครอบงำโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมาได้สร้างทัศนคติเกี่ยวกับธรรมชาติที่เป็นรากเหง้าไปสู่การเกิดวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

วิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและเป็นผลมาจากการทับซ้อนในประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยหนึ่งในปัจจัยที่เป็นรากเหง้าของความยุ่งยากในการจัดการกับความท้าทายนี้ คือ “โลกทัศน์” บางประเภท

โลกทัศน์เป็นเหมือนแก้วน้ำ 1 คู่ ที่เราใช้มองโลกรอบตัวเรา โลกทัศน์ของเราได้แสดงถึงค่านิยมหลักและความเชื่อของเรา โลกทัศน์นี้กำหนดว่าเราควรจะคิดอย่างไรและควรจะคาดหวังอะไรจากโลกนี้ ซึ่งโลกทัศน์ของเราได้รับอิทธิพลมาจากประสบการณ์ส่วนตัว ความเชื่อและคุณค่าที่เราได้รับสืบทอดมาจากครอบครัวและครูของเรา รวมไปถึงความเชื่อและค่านิยมที่เราได้เติบโตมา โลกทัศน์จึงมีผลต่อความคิดและการกระทำของเราในโลกนี้

ในปัจจุบัน “การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ” เป็นเครื่องชี้วัดความก้าวหน้าและมาตรฐานในการดำรงชีวิต และระดับการพัฒนาของคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ดี ความคิดเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับโลกทัศน์ที่ว่า “มนุษย์ย่อมมีอำนาจเหนือธรรมชาติและย่อมตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ”  เป็นหัวใจของประเทศที่มีปัญหามลพิษระดับสูง หลายคนเชื่อว่าสิ่งนี้มีรากฐานมาตั้งแต่ 400 ปีที่แล้ว ในช่วงเวลาของยุคการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้รู้ต่างเขียนไว้ว่ามนุษย์สูงส่งกว่าธรรมชาติอย่างไร  และมนุษย์มีสิทธิที่จะครอบงำธรรมชาติอย่างไร แนวความคิดนี้ได้แพรไปในช่วงเวลาที่ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อศตวรรษในระยะหลังและทำให้เกิดกฎหมาย เทคโนโลยี วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ซึ่งยังคงปรากฏในประเทศที่ร่ำรวยจนถึงทุกวันนี้ วิถีชีวิตนี้ได้ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมาหรือถูกใช้เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้กับประเทศอื่นทั่วโลก

ตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำให้ประชากรที่อยู่อาศัยในประเทศร่ำรวยออกห่างจากการพึ่งพาธรรมชาติตรง ๆ มากขึ้นกว่าเดิม ประชากรหลาย ๆ คนย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองเพื่อทำงานในโรงงานที่พวกเขาใช้เครื่องจักรในการผลิตสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะใช้อุปกรณ์ที่ใช้มือในการผลิตและแทนที่จะทำงานในชุมชนของตนเอง ในยุคนี้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น รถไฟที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ รถยนต์และหลอดไฟ ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างรวดเร็ว เปรียบได้กับการที่โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันนี้เมื่อเทียบกับวิถีชีวิตเมื่อ 50 ปีที่แล้ว แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างจะมีประโยชน์กับผู้คน เช่น การผลิตยารักษาที่ทันสมัย แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็ก่อให้เกิดการครอบงำและดึงทรัพยากรจากธรรมชาติจากผู้คนอย่างไม่เคยมีมาก่อน

การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมทำให้เกิดการสร้างเหมืองแร่พลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ มีการใช้การเผาผลาญพลังงานจากฟอสซิลเป็นพลังงานหลักมามากกว่า 100 ปี และเหตุการณ์นี้ได้นำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ตามมาคือประเทศร่ำรวย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ได้ผลิตปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเรื่อยมาตลอด  ขณะนี้หลายประเทศ เช่น ประเทศจีนและประเทศอินเดีย ได้ดำเนินรอยตามการพัฒนาของประเทศร่ำรวยนี้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากพึ่งพาพลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลทุกปีในยุคเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน  ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา  ซึ่งหมายความว่าได้มีการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกมาโดยตลอด  โดย 5 ประเทศที่ติดอันดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดต่อประชากร 1 คน

วิกฤตทางภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาเป็นปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะหาคนใดคนหนึ่งมาอธิบายว่าทำไมวิกฤตนี้ถึงได้เกิดขึ้น หรือทำไมจึงเกิดความล้มเหลวในการพูดถึงปัญหานี้  มันเป็นเรื่องยากมากที่จะให้ผู้คนเข้าใจความยิ่งใหญ่ของวิกฤตทั้งสองด้านนี้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่จำกัดความสามารถของคนที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาดและเร่งด่วนอย่างที่ควรจะเป็น

วิถีการดำรงชีวิตที่สร้างอันตรายต่อธรรมชาติโดยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมานี้ได้ฝังลึกอยู่ในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งบางคนเรียกวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและทางชีววิทยาว่าเป็นวิกฤตของ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ” และเพื่อที่จะให้มีอนาคตที่มีความยั่งยืนมากขึ้น เราต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสันติ  และเปลี่ยนระบบการผลิต ระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมตาม  ในปี 2021 นี้ กลุ่มนักวิจัยได้แยกแยะเหตุผลที่สอดคล้องกัน 9 เหตุผล นั่นคือความรู้โดยรวมของเราที่จะแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ตั้งแต่ 3 ทศวรรษที่ผ่านมาแล้ว กลุ่มนักวิจัยโต้แย้งว่าการที่จะแก้ไขปัญหาได้เพียงพอ เราจำเป็นจะต้องตั้งคำถามต่อโลกทัศน์ที่มาจากสังคมที่ร่ำรวยและสังคมอุตสาหกรรม เราถึงจะแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศนี้ได้

มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ทางชีววิทยาและโลกก็เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเรา เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและต้องพึ่งพาธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด  มากกว่าที่จะอยู่รอดได้โดยการแยกตัวจากธรรมชาติ จุลินทรีย์ในลำไส้ของเราช่วยในการย่อยอาหาร ในขณะที่ตัวอื่น ๆ สร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายเรา เช่น ผิวหนัง ผู้ที่ช่วยในการผสมเกสร เช่น ผึ้งและตัวต่อ ช่วยผลิตอาหารที่เรากิน ในขณะที่ต้นไม้และพรรณพืชทั้งหลายดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออไซด์ที่เราขจัดออกจากร่างกายและผลิตอ็อกซิเจนกลับมาให้เราได้หายใจ

ถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศมาหลายทศวรรษแล้ว สังคมที่ร่ำรวยยังไม่ได้มีการดำเนินการที่จะคิดถึงวิถีชีวิตที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพลังงานฟอสซิลหรือวิถีชีวิตที่ไม่ขึ้นอยู่กับการใช้การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาและความก้าวหน้า

สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์นั้นเป็นข้อบังคับเบื้องต้นสำหรับเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการใช้ผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจ หรือ ผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นเครื่องวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องเสริมด้วย “หลักความมั่งคั่งอย่างครอบคลุม” ซึ่งหมายถึง ผลรวมของต้นทุนการผลิต ต้นทุนทางธรรมชาติและต้นทุนทางทรัพยากรมนุษย์ โดยต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม แนวทางนี้จะเป็นมาตรฐานการวัดด้วยว่านโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติมีความยั่งยืนสำหรับเยาวชนในวันนี้และในอนาคตหรือไม่

การเจรจาระหว่างประเทศ

ผู้นำของโลกจะพบปะกันที่เมืองกลาสโกว์ในปีนี้เพื่อที่จะหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และในประเทศจีนที่ซึ่งจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับวิกฤตทางระบบนิเวศวิทยา ในหัวข้อนี้เราจะเรียนรู้ว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของการเจรจาเหล่านี้และจนถึงตอนนี้จุดมุ่งหมายได้บรรลุผลถึงขั้นใดแล้ว

A) การเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศบรรลุผลถึงขั้นใดแล้ว

นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ถูกกระทำโดยมนุษย์มาหลายทศวรรษแล้ว อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ได้ถูกลงนามที่เมืองริโอเดอจาเนโร ในปี 1992 และการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) ได้ถูกจัดขึ้นทุก ๆ ปี มาตั้งแต่ปี 1995 จุดประสงค์ของการประชุมนี้ก็เพื่อที่จะเจรจาหาข้อตกลงว่า ควรที่จะทำอะไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและเพื่อที่จะนำเสนอมาตรการที่แต่ละประเทศควรจะนำไปแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

ในปี 2015 ผู้นำโลกได้รวมตัวกัน ณ กรุงปารีส เพื่อทำการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP21) ผลการประชุมที่ได้รับในครั้งนั้น คือ ผู้นำโลกได้บรรลุเป้าหมายข้อตกลงในการที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดย 196 ประเทศตกลงที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้มีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสหรือไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เกือบทุกประเทศทั่วโลกเข้าร่วมตกลงใน “เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC)” และได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะจำกัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การให้คำมั่นสัญญานี้จะมีการแจ้งรายงานความคืบหน้าทุก ๆ 5 ปี

มีการกำหนดเป้าหมาย 2 เรื่องในข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนี้

  1. ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกให้เพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100 หรือถ้าเป็นไปได้ให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

2. ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050

ถ้าเราสามารถที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากทั่วโลกภายในปี 2030 ได้ ขั้นตอนต่อไปคือการที่ประเทศทุกประเทศบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) คือแนวคิดในการจัดการเพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศให้เท่ากับปริมาณที่ปล่อยเข้ามาในชั้นบรรยากาศหรือกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งมวล  ผ่านกระบวนการกำจัดคาร์บอน ซึ่งกระบวนการกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศนี้ ต้องอาศัยป่าไม้ พื้นดิน มหาสมุทร และเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนซึ่งยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ในปัจจุบัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้…

  • ประเทศจีน ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2005 ถึง 2018 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในทศวรรษข้างหน้านี้ เนื่องมาจากนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศจีน
  • สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก กำลังดำเนินการที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 58 เปอร์เซ็นต์ในปี 2030 โดยเทียบกับฐานปี 1990
  • ประเทศอินเดีย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 76% ระหว่างปี 2005 ถึง 2017 และเช่นเดียวกับประเทศจีน ประเทศอินเดียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนถึงปี 2030 เนื่องมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  • ประเทศรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ได้ยื่นเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศเป็นครั้งแรกในปี 2020 โดยตั้งมั่นที่จะลดการปล่อยมลพิษลง 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030
  • ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำสัญญาที่จะลดการปล่อยมลพิษลง 50-52 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 โดยเทียบกับฐานปี 2005 ซึ่งเป็นช่วงที่การปล่อยมลพิษพุ่งสูงสุด

ประเทศที่มีความตกลงร่วมกันที่จะลดภาวะก๊าซเรือนกระจกจะเป็นตัวตัดสินว่าโลกนี้จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวของข้อตกลงปารีสหรือไม่  เพราะถึงแม้ว่าเป้าหมายในปัจจุบันที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี ในตอนนั้นอุณหภูมิของโลกก็คงจะเพิ่มขึ้นไปที่ 3 องศาเซลเซียส แม้ว่าข้อตกลงปารีสในปี 2015 กำหนดให้ลดอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสก็ตาม

เพราะว่าในปัจจุบันเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศนั้นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงปารีสได้ และต้องแจ้งความคืบหน้าทุก ๆ 5 ปีต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งจุดประสงค์ของข้อตกลงปารีสนี้ก็เพื่อที่จะให้แต่ละประเทศตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้นในแต่ละปีเท่าที่จะเป็นไปได้ตามกรอบของข้อตกลง โดยแต่ละประเทศตั้งเป้าหมายที่แตกต่างกันไปในแบบของตนเอง เช่น สหภาพยุโรปได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 55 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030  และสหราชอาณาจักรมุ่งที่ 78% ภายในปี 2035   โดยประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรยังได้กำหนดให้เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศอาร์เจนตินา ประเทศเม็กซิโกและประเทศในสหภาพยุโรป ร่วมกันประกาศถึงเจตนารมณ์ที่จะบรรลุการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050  ประเทศจีนให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงที่สุดแค่ถึงปี 2030  ก่อนที่จะเปลี่ยนไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในสิ้นปี 2060

หลังจากที่ได้มีข้อตกลงปารีส เราได้เห็นถึงความก้าวหน้าอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังไม่มีการขับเคลื่อนที่รวดเร็วพอ การวิเคราะห์เมื่อไม่นานนี้จากองค์การสหประชาชาติได้สรุปว่า หากแม้ทุกประเทศบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของตน อุณหภูมิก็อาจจะยังเพิ่มสูงขึ้นไปที่ 2.7 องศาเซลเซียสในช่วงท้ายของศตวรรษ  

ในอัตราปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนจะเข้าถึงระดับ 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2040 หรืออาจจะเร็วกว่านี้  และจะมีแนวโน้มที่อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้น ถ้ายังไม่มีการลงมือทำอย่างเร่งด่วน ได้มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียสนั้นยิ่งใหญ่กว่าที่เราเข้าใจก่อนหน้านี้

หลังจากที่มีการประชุม COP21 รายงาน 2 ฉบับจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (IPCC) ในปี 2018 และ 2021 เน้นย้ำว่าแม้จะเป็นความแตกต่างที่อุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสและ 2 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น แต่การสูญเสียชีวิตและการทำมาหากินของผู้คนนับล้าน  จะเกิดขึ้นตามมาและยิ่งไปกว่านั้นจะเกิดผลกระทบอย่างเลวร้ายเมื่อภาวะโลกร้อนสูงขึ้นไปอีก

งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า โรงงานผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ทำการล็อบบี้รัฐบาลเพื่อที่จะทำให้นโยบายเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศทั่วโลกไม่เกิดผลสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็อ้างว่าตนสนับสนุนความตกลงปารีสในการที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง การล็อบบี้ทางการเมืองโดยมุ่งเน้นถึงผลประโยชน์ของพลังงานฟอสซิลชี้ให้เห็นว่า ทำไมข้อตกลงของปารีสไม่ได้ชี้ชัดในเรื่องของการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนหรือการลดปริมาณการใช้พลังงานฟอสซิล ถึงแม้ว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ชี้ว่าการที่จะรักษาระดับภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่อุณหภูมิ 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียสนั้น จำเป็นต้องให้พลังงานฟอสซิลส่วนใหญ่คงอยู่ใต้พื้นดิน

ยังมีอะไรที่มากกว่านี้อีก คือ ประเทศที่ส่งออกพลังงานฟอสซิลหลายประเทศได้ทำการขัดขวางกระบวนการตัดสินใจ โดยยืดเยื้อการเจรจาและเพิ่มความตึงเครียดทางการเมืองให้รุนแรงขึ้น และพยายามหลีกเลี่ยงการอ้างอิงหลักฐานและเอกสารทั้งหลายที่กล่าวว่า พลังงานฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประเทศที่ร่ำรวยจากการผลิตและกักตุนพลังงานฟอสซิล เช่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศคูเวต และประเทศรัสเซีย มีชื่อเสียงในทางลบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการขัดขวางการเจรจาและการอภิปรายโต้แย้งด้วยหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ประเทศที่ร่ำรวยไม่ได้ทำการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเด่นชัด ทั้งในเรื่องของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังและในเรื่องของการจัดหาเงินทุนช่วยเหลือที่เพียงพอ ความล้มเหลวจากการกระทำของประเทศที่ร่ำรวยที่กล่าวมานี้ได้สร้างความไม่ไว้วางใจ ซึ่งทำให้กลุ่มผลประโยชน์มหาศาล อันได้แก่อุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลใช้วิธีไปตั้งหลักฝังรากการสร้างก๊าซคาร์บอนในระดับสูงในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศแทน แทนการใช้ทางเลือกอื่น ๆ   ที่ใช้คาร์บอนต่ำ

การขาดการกระทำที่ชัดเจนและรวดเร็วในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะส่งผลให้รัฐบาลทั่วโลกเกิดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล มีการประเมินว่าผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้วจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในปี 2030 นอกเหนือไปจากค่าใช้จ่ายนี้แล้ว เหตุการณ์และรูปแบบของสภาพภูมิอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องต่อไป และจะมีผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์ การทำมาหากิน อาหาร น้ำ ความหลากหลายทางด้านชีวภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

B) การเจรจาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพสำเร็จถึงขั้นไหนแล้ว

ความหลากหลายทางชีวภาพมีคุณค่าทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจและด้านชีววิทยาเป็นอย่างมาก แต่เท่าที่ผ่านมาเราได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ได้เปิดให้มีการลงนามในสัญญาที่เมืองริโอเดอจาเนโร ในปี 1993  อนุสัญญานี้ได้สร้างความตระหนักเป็นครั้งแรกในฐานะกฎบัตรระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรจะให้ความสำคัญร่วมกัน  ข้อตกลงในสัญญานี้ได้แก่เรื่องระบบนิเวศวิทยา สายพันธุ์และทรัพยากรทางพันธุกรรมอันได้แก่เมล็ดพันธุ์พืช ในปี 2010 ผู้ร่วมประชุมในสัญญานี้ได้ปรับแผนยุทธศาสตร์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับปี 2011 ถึงปี 2020 เป็นกรอบระยะเวลา 10 ปี เพื่อให้ทุกประเทศได้ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและผลประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับ ได้มีการจัดตั้งเป้าหมายทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ 20 เป้าหมาย หรือที่เรียกว่า เป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพแห่งไอจิ (Aichi Biodiversity Targets) ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์นี้  อย่างไรก็ดี 20 เป้าหมายทั้งหมดนี้ไม่สามารถบรรลุได้ตามกำหนดในปี 2020 ผลวิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นว่า ยังมีความก้าวหน้าอยู่น้อยมากในการที่จะมุ่งแก้ไขสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งยังคงทำให้สถานะของความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมลง ในปี 2021 การประชุมร่วมกันของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 15 (CBD COP15) จะจัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน และจะสิ้นสุดลงในปี 2022 เพื่อที่จะหาข้อตกลงในเรื่องกรอบการทำงานและเป้าหมายในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกเหนือไปจากความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังมีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอื่น ๆ อีก 5 ฉบับ คือ อนุสัญญาแรมซาร์, อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น, อนุสัญญาไซเตส, สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร และอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก อย่างไรก็ดียังไม่มีเป้าหมายใดในเรื่องการตกลงระหว่างประเทศที่สำเร็จอย่างเต็มที่  ถึงแม้ว่าจะมีการประชุมระหว่างประเทศอย่างมากมายในเรื่องของความสูญเสียทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นจึงสำคัญยิ่งสำหรับรัฐบาลที่ควรจะเริ่มตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเริ่มพัฒนาเป้าหมายและการกระทำร่วมกันเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาใน 2 ประเด็นนี้

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาในด้าน…

ในหัวข้อนี้เราจะศึกษาระดับของผลกระทบที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและวิกฤตทางชีววิทยาที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพทั่วทุกมุมโลก ผลกระทบเหล่านี้จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการลงมือแก้ปัญหาในปัจจุบัน

…สุขภาพและการดำรงชีวิตของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ทำลายสุขภาพของมนุษย์ มนุษย์เกิดความเครียดที่เป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคภัยไข้เจ็บและและภาวะทุพโภชนาการอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรง เช่น ความแห้งแล้ง พายุเฮอริเคนและอุทกภัย  ความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นพร้อมกับภาวะโลกที่ร้อนขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังทำให้เกิดโรคติดต่อเพิ่มขึ้นจากสัตว์และแมลงไปสู่มนุษย์ เช่น โรคมาลาเรียโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิของโลกร้อนเพิ่มจาก 1.5 องศาเซลเซียสไปถึง 2 องศาเซลเซียส รวมไปถึงการเพิ่มของแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคที่เป็นโรคระบาด  จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของโรคไลม์หรือโรคระบาดที่เกิดจากการกัดของเห็บที่ติดเชื้อแบคทีเรียในประเทศแคนาดา

โรคระบาดสามารถถูกจำกัดได้ด้วยวิธี “สุขภาพหนึ่งเดียว” โรคที่ติดต่อข้ามสายพันธุ์จากสัตว์มายังมนุษย์ เช่น โควิด-19 สามารถป้องกันได้ด้วยการจำกัดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ป่ากับมนุษย์หรือสัตว์ป่ากับปศุสัตว์ โดยวิธีสุขภาพหนึ่งเดียวนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ เช่น สาธารณสุข, สัตวศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกันคิดค้นเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ให้ดีขึ้น  รวมทั้งป้องกันหายนะทางสุขภาพต่าง ๆ

การหยุดยั้งการทำลายระบบนิเวศ เช่น การทำลายป่าไม้ จะช่วยปกป้องพืชพรรณที่มีคุณค่าต่อการวิจัยทางการแพทย์ และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์สู่คน

ภูมิอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในทั่วทุกภูมิภาค โดยประเทศในเขตร้อนและประเทศกึ่งเขตร้อนในซีกโลกใต้จะได้รับผลกระทบมากที่สุดทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ถ้าหากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจาก 1.5 ไปถึง  2 องศาเซลเซียส  เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น เมื่อปี 2015ประชากรในแถบนี้ได้สัมผัสถึงผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสแล้วอย่างน้อยหนึ่งฤดูกาลต่อปี  ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อประชากรจนที่สุดและมีความเปราะบางที่สุดเป็นอย่างมาก การจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 1.5 หรือ 2 องศานี้ จะช่วยลดจำนวนประชากรที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ถึงหลายร้อยล้านคนภายในปี 2050

เรากำลังจะได้เห็นหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการอพยพของผู้คนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเผยว่า คนไร้สัญชาติและคนพลัดถิ่นคือด่านหน้าที่จะเผชิญกับปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ  ประชากรส่วนมากอาศัยอยู่ใน “จุดความร้อน” (climate hotspot) ซึ่งเป็นจุดที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติ ที่ซึ่งประชากรเหล่านี้ขาดแหล่งทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่อันตรายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความอันตรายเหล่านี้มีผลมาจากความรุนแรงและความถี่ของเหตุการณ์ทางสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ภาวะฝนตกอย่างหนักอย่างผิดปกติ สภาพความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อ การที่ผืนดินกลายเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม หรือการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุไซโคลน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประชากรโดยเฉลี่ยมากกว่า 20 ล้านคน ต้องย้ายไปอาศัยอยู่ในบริเวณอื่นในประเทศของตนเองหรืออพยพออกจากประเทศของตนเอง   

ในปลายปี 2020 นี้ ประมาณ 7 ล้านคนใน 104 ประเทศและอาณาเขต (ดินแดนเขตการปกครองที่ยังไม่ได้รับเอกราชของประเทศใดประเทศหนึ่ง) จะต้องอาศัยอยู่กันอย่างกระจัดกระจายซึ่งเป็นผลมาจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2019 และในปีก่อนหน้านี้   5 ประเทศหลัก ๆ ซึ่งมีจำนวนของผู้ลี้ภัยอันเนื่องมาจากภัยพิบัติภายในประเทศที่มากที่สุด ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน (1.1 ล้านคน) อินเดีย (929,000 คน), ปากีสถาน (806,000 คน), เอธิโอเปีย (633,000 คน) และประเทศซูดาน (454,000 คน)  ในปี 2017 ชาวอเมริกัน 1.5 ล้านคนต้องทำการอพยพอย่างถาวรและชั่วคราวไปยังเมืองอื่น ๆ ในประเทศของตนเนื่องมาจากภัยพิบัตินี้

…ความมั่นคงทางอาหาร

ความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง การที่ประชากรทั้งหมดสามารถเข้าถึงการบริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักโภชนาการ พร้อมทั้งตอบสนองต่อความชอบและความต้องการอาหาร เพื่อชีวิตที่มีชีวิตชีวาและมีสุขภาพดี  ความมั่นคงทางอาหารถูกคุกคามจากการสูญเสียแมลงผสมเกสรและการสูญเสียผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นผลที่มาจากวิกฤตทางนิเวศวิทยา และความสามารถของโลกในการสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นด้านอาหารที่ถูกโภชนาการนั้นจะลดลง เนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของฝน และการเพิ่มขึ้นของสภาพอากาศที่เลวร้าย การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ลดลงในบางพื้นที่และเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ในปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนี้มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ที่แห้งแล้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแอฟริกาและภูมิภาคท้องถิ่นตามแถบภูเขาสูงในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาใต้

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงอื่น ๆ และองค์ประกอบด้านการเมืองและสังคม ตัวอย่างของผลกระทบนี้เกิดขึ้นในบางพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตก พื้นที่ชื่อว่าซาเฮล (Sahel)  ในประเทศแอฟริกาเกิดสภาพการกลายเป็นทะเลทราย ส่งผลให้คนเลี้ยงวัวอพยพพร้อมกับสัตว์ที่เขาเลี้ยงไปทางใต้เพื่อที่จะหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนเลี้ยงสัตว์และชาวนาเพราะพืชผลของเขาถูกทำลายโดยวัวของคนเลี้ยงวัวที่เร่ร่อนบุกรุกเข้าไปในนาของเขา ผลที่ตามมาคือนาและพื้นที่ทางการเกษตรถูกทิ้งร้าง ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและความมั่นคงทางอาหารถูกคุกคาม

อาหารที่เคยหามาได้ก็จะลดปริมาณลงเมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับ 1.5 องศาเซลเซียส และปริมาณอาหารจะลดลงมากกว่านี้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนซาเฮล (Sahel) ในประเทศแอฟริกา, แอฟริกาใต้, แถบเมดิเตอร์เรเนียน, ยุโรปกลางและป่าอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ รวมถึงปริมาณผลผลิตที่น้อยลงของข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และธัญพืช ในบริเวณทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ผลผลิตทางปศุสัตว์และทางเกษตรกรรมยังมีแนวโน้มที่จะลดลงและอาจจะถูกละทิ้งอย่างสิ้นเชิงในพื้นที่ของยุโรปใต้และดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียนเนื่องมาจากผลกระทบทางลบที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

มีการคาดการณ์ว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจะมีผลกระทบต่อการทำปศุสัตว์ กล่าวคือยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ยิ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตอาหารสัตว์ การแพร่พันธุ์ของเชื้อโรคและการมีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการเลี้ยงสัตว์  มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของศัตรูพืชทางการเกษตรและโรคทางการเกษตร

ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงแหล่งอาหารจะสูงขึ้นที่อุณหภูมิ 1.2 ถึง 2.5 องศาเซลเซียส และสูงขึ้นมากเมื่ออุณหภูมิขึ้นไปถึง 3-4 องศา โดยในระดับอุณหภูมิ 4 องศาจะเข้าสู่ภาวะหายนะ การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นคาดว่าจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณโปรตีนและปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในธัญพืชหลัก ๆ ที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่การลดลงของปริมาณอาหารและความมั่นคงด้านทางอาหาร

…ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ

ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำวัดจากปริมาณน้ำที่มี ความต้องการในการใช้น้ำและคุณภาพของแหล่งน้ำ

การเบียดเบียนระบบนิเวศทำให้เกิดวิกฤตทางนิเวศวิทยาส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำและความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืด

80% ของประชากรโลกได้รับผลกระทบจากการคุกคามที่รุนแรงต่อความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ  ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำและคุกคามความมั่นคงของทรัพยากรน้ำเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของฝน โดยทั่วไปแล้วปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณเขตร้อนและพื้นที่ราบสูงและกำลังลดปริมาณลงในพื้นที่กึ่งเขตร้อนเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ  ในปี 2017 ประชากรประมาณ 2.2 พันล้านคนไม่มีน้ำดื่มที่ปลอดภัยไว้ใช้บริโภค ประชากรมากกว่า 2 พันล้านทั่วโลกที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำได้รับผลกระทบจากความต้องการน้ำสะอาดมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่มี ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียมีความต้องการใช้น้ำเกิน 70% ของปริมาณน้ำที่มี

การสูญเสียการเข้าถึงแหล่งน้ำเป็นปัญหาอย่างหนึ่งด้านความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากการใช้น้ำจืดทั่วโลกถูกนำมาใช้กับการเกษตรหรือการชลประทาน ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนแหล่งน้ำจืดมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์  

ประชากรประมาณ 1.2 พันล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง และการขาดแคลนน้ำก็ส่งผลให้การเกษตรเกิดปัญหา  ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของประชากร กิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรมและมาตรฐานการใช้ชีวิตได้ก่อให้เกิดความต้องการน้ำมากขึ้นทั่วโลก

พื้นที่ชุ่มน้ำได้สูญหายไปทั่วโลกซึ่งเป็นการคุกคามคุณภาพของน้ำในทุกภูมิภาคทั่วโลก

…ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นดินและระบบนิเวศ

ระบบนิเวศคือระบบที่ค้ำจุนชีวิตของคนในโลกสำหรับเผ่าพันธุ์มนุษย์และชีวิตอื่น ๆ ทั้งหมด หลายทศวรรษที่ผ่านมามนุษย์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยาตามธรรมชาติอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ เช่น การมีอายุขัยที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ดีไม่ใช่คนทุกกลุ่มในโลกได้รับประโยชน์จากกระบวนการนี้และมีประชากรมากมายได้รับอันตราย สิ่งที่โลกต้องจ่ายสำหรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เริ่มจะเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ   เศรษฐกิจความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าของสังคมกลายเป็นภาระที่โลกต้องจ่ายเพื่อจะรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์   

จากที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 2 สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตกำลังจะสูญพันธุ์ในอัตราที่มากกว่าปกติถึง 100 เท่า   การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในเรื่องของการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยปริมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตของพืชและสัตว์มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น ภายใต้ภาวะโลกร้อนที่ 2 องศา หรืออาจจะมีเปอร์เซ็นต์การสูญพันธุ์เพิ่มขึ้นถ้าภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นกว่า 2 องศา  มีการประเมินว่ากว่าครึ่งล้านของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตจะไม่มีที่อยู่อาศัยสำหรับการดำรงชีวิตในระยะยาวและเริ่มมีการสูญพันธุ์ในระยะเริ่มต้นมากมายภายในช่วงทศวรรษที่จะมาถึง ถ้าไม่มีการรักษาพื้นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิต

มีการคาดการณ์ว่าหากระดับอุณหภูมิโลกร้อนถึง 2 องศา 13 เปอร์เซ็นต์ของระบบนิเวศจะมีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์หนึ่งไปยังภูมิทัศน์อื่น ๆ เช่น ป่าสนเปลี่ยนไปเป็นป่าสะวันนา และการเปลี่ยนแปลงจะมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ หากอุณหภูมิโลกขึ้นไปถึง 4 องศา   มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจะส่งผลให้เขตภูมิอากาศต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง อากาศร้อนรูปแบบใหม่จะเกิดขึ้นในเขตร้อน  ส่งผลให้ฤดูไฟป่ายาวขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่ามากขึ้นในดินแดนที่มักประสบกับภัยแล้ง  

ในปี 2020 มีหน้าดินน้อยกว่า 1 ส่วน 4 ของโลกที่ยังคงใช้ประโยชน์ตามธรรมชาติได้โดยที่ระบบความหลากหลายทางชีวภาพไม่ถูกทำลาย โดย 1 ส่วน 4 ของหน้าดินนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นภูเขา บริเวณแห้งแล้งและบริเวณที่หนาวเย็น ดังนั้นจึงมีปริมาณประชากรอาศัยอยู่น้อย ทำให้การเปลี่ยนแปลงหน้าดินเกิดขึ้นไม่มาก

…มหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตทางทะเล

มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของความหลากหลายทางชีวภาพเริ่มจากจุลินทรีย์ไปถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลและระบบนิเวศวิทยาที่หลากหลาย โดย 2 ใน 3 ของมหาสมุทรทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ร้ายแรง คือ การจับปลามากเกินไปหรือการประมงเกินขนาด การติดตั้งระบบสาธารณูปโภคและการขนส่งแถบชายฝั่งและนอกชายฝั่ง ภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทรขยะและการไหลบ่าของแร่ธาตุลงสู่มหาสมุทร โดย 1 ใน 3 ของปลาทะเลในโลกถูกล่ามากเกินไปในปี 2015 ทำให้เกิดการขาดแคลนปริมาณปลาทะเลที่กักเก็บไว้สำหรับบริโภค ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร แร่ธาตุจากปุ๋ยที่ไหลลงไปสู่ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งทำให้เกิด “พื้นที่มรณะ” (dead zone) มากกว่า 400 แห่ง รวมแล้วมากกว่า 245,000 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าขนาดของประเทศเอกวาดอร์หรือประเทศอังกฤษ  โดยในปี 2021 เกิดการรั่วไหลของปุ๋ยจากโรงงานปุ๋ยที่ถูกทิ้งร้างในรัฐฟลอริดา ซึ่งทำให้เกิดดอกสาหร่ายที่เป็นปรากฏการณ์น้ำสีเขียวที่เป็นอันตรายต่อมหาสมุทรทำให้สัตว์น้ำตายไปหลายตัน

พลาสติกในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่ามาตั้งแต่ปี 1980 คิดเป็น 60 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของขยะที่ถูกพบในมหาสมุทรทั่วโลก พลาสติกกระจายอยู่ทุกมหาสมุทรในโลกนี้ ทั้งบริเวณที่ลึกมาก ทั้งบริเวณกระแสน้ำและมวลน้ำต่าง ๆ ขยะพลาสติกก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านชีววิทยา ได้แก่ การเสียชีวิตของสัตว์น้ำและสัตว์อื่น ๆ จากการที่พลาสติกติดพันตามตัวหรือการกินพลาสติกเข้าไป ความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียที่ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ของระบบนิเวศวิทยาทางน้ำและทางชายฝั่งทะเล ได้แก่ หญ้าทะเล ป่าเครป (ป่าใต้พื้นน้ำซึ่งพบในเขตประเทศอบอุ่น) ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นหากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น  ในขณะนี้ มหาสมุทรในโลกนี้ได้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาถึง 30% รวมถึงความร้อนส่วนเกินในชั้นบรรยากาศโลกซึ่งนำไปสู่อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเล โดยตั้งแต่ปี 1993 อัตราอุณหภูมิของน้ำทะเลได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า  ซึ่งส่งผลให้แนวปะการังถูกทำลายและเกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำ

แนวประการังนั้นมีความเปราะบางอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและมีการคาดการณ์ว่าแนวประการังจะลดลง 10 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศา และจะเหลือน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์หากอุณหภูมิโลกขึ้นไปถึง 2 องศา นั่นหมายความว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ของแนวปะการังจะหายไปหากอุณหภูมิโลกขึ้นไปถึง 2 องศา  การกระจุกตัวกันของความร้อนในมหาสมุทรจะยังคงเกิดขึ้นในหลายศตวรรษข้างหน้าและจะส่งผลต่อคนรุ่นหลัง

ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลกอาศัยห่างจากชายฝั่งในระยะ 100 กิโลเมตร (60 ไมล์) และประชากรโลกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่ถึง 10 เมตร   การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น มหาสมุทรร้อนมากขึ้น รวมถึงน้ำทะเลกลายเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแม้ว่าอุณหภูมิโลกจะถูกรักษาให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ผู้คนในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลนั้น ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรในโลก

ผลกระทบที่เกิดจากอุณหภูมิของมหาสมุทรที่สูงขึ้น คือ สัตว์น้ำทะเลหลายสายพันธุ์ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองและเปลี่ยนที่อยู่อาศัย ทำไมต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการหยุดชะงักของระบบนิเวศวิทยาและการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงของโรคระบาด

การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตและในอนาคตจะเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ในอีกหลายพันปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของมหาสมุทร ธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลของโลก

สถานการณ์และแนวทางต่าง ๆ

สถานการณ์จำลองเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและแนวทางการบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศสำหรับอนาคตมีอะไรบ้าง รวมถึงมีความท้าทายและความไม่แน่นอนอย่างไร

A. แบบจำลองภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ด้านการปล่อยก๊าซมลพิษและอุณหภูมิชั้นบรรยากาศ

แบบจำลองภูมิอากาศ เป็นการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อนจากคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ผลกระทบในอนาคตของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปล่อยก๊าซพิษเข้าสู่ภูมิอากาศของโลก แบบจำลองเหล่านั้นยังสามารถนำมาใช้กับการค้นหาว่านโยบายและเทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาด้านภูมิอากาศได้อย่างไร

การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหมายถึงการพยายามในการลดหรือป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

รายงานฉบับล่าสุดของ IPCC ได้แจ้งถึง 5 สถานการณ์ที่เป็นไปได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยตั้งสมมติฐานจากแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ แบบจำลองเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงระดับความร้อนที่จะพบได้จากสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษจากต่ำมากจนถึงสูงมาก โดยขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่จะถูกปล่อยออกมาในระยะเวลาสิบปีข้างหน้า สถานการณ์จำลองเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร, การใช้ที่ดิน, นโยบายด้านการค้าและการลงทุน, โภชนาการส่วนตัว และมาตรการในปัจจุบันในการควบคุมการปล่อยมลพิษ

  • ในสถานการณ์จำลองที่มีการปล่อยมลพิษในระดับ “สูงมาก” จะแสดงให้เห็นว่าโลกของเราจะยังคงเดินเข้าสู่แนวทางที่เต็มไปด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และจะเกิดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เพิ่มเป็นสามเท่าตัวภายในปี 21000 อีกทั้งอุณหภูมิโลกจะร้อนขึ้นระหว่าง 3.3 – 5.7 องศาเซลเซียสจนถึงช่วงท้ายของศตวรรษนี้
  • ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษในระดับ “สูง” และมีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์น้อย พบว่าระดับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวภายในปี 2100 รวมถึงระดับอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2.8 – 4.6 องศาเซลเซียสจนถึงช่วงท้ายของศตวรรษนี้
  • ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษระดับ “ปานกลาง” โดยกำหนดให้ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์อยู่ในระดับเดียวกับปัจจุบันไปจนกระทั่งตอนกลางของศตวรรษ จากนั้นค่อย ๆ ลดลง อย่างช้า ๆ จะพบว่าระดับอุณภูมิของโลกจะขึ้นไปอยู่ที่ 2.1 – 3.5 องศาภายในปี 2100
  • ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษระดับ “ต่ำ” โดยชาวโลกร่วมมือกันตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไปในการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ จะพบว่าการปล่อยคาร์บอนไดสุทธิจะไปถึงระดับที่เป็น “ศูนย์” (net-zero) ได้ภายในปี 2075 และอุณหภูมิของโลกจะขึ้นไปที่ระดับ 1.3 – 2.4 องศาเซลเซียสภายในปี 2100
  • ในสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษในระดับ “ต่ำมาก” การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากลดลงอย่างรวดเร็วจากปี 2020 และจะเข้าสู่ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ได้ประมาณปี 2050 โดยระดับอุณหภูมิของโลกจะขึ้นไปอยู่ที่ 1.0 – 1.8 องศาเซลเซียสในช่วงท้ายของศตวรรษนี้

B. ความท้าทายและการได้อย่างเสียอย่าง

จากสถานการณ์จำลองทั้งหมดที่จัดทำโดย IPCC จะเห็นว่าโลกของเรามีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2040 และแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อธรรมชาติและมนุษย์ อย่างไรก็ตามการตั้งเป้าหมายไว้ที่ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสยังคงขึ้นอยู่กับระดับการปล่อยมลพิษที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า และการให้ระดับอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสได้นั้นต้องเป็นการปล่อยมลพิษในระดับต่ำ ๆ เท่านั้น

ถ้าไม่มีการปรับนโยบาย เทคโนโลยี หรือพฤติกรรมมนุษย์อย่างจริงจัง โลกของเราจะเดินทางสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ระดับ 3 องศาหรือมากกว่านั้น และโลกที่มีระดับอุณหภูมิ 3 องศาจะแตกต่างจากโลกในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยจะมีความเสี่ยงอย่างชัดเจนที่จะเกิดคลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง พายุที่รุนแรง ฝนตกหนัก และอุทกภัย เนื่องมาจากความผันผวนสุดขั้วของระดับอุณหภูมิของอากาศ โดยจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศและชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลก

การตัดสินใจว่าจะจัดการวิกฤตภูมิอากาศและวิกฤตนิเวศวิทยาอย่างไรนั้น ต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจความท้าทายและการได้อย่างเสียอย่างตั้งแต่ระดับเบื้องต้นของแต่ละสถานการณ์ โดยการที่จะเข้าใจสิ่งเหล่านั้น เราจะมาดูเกี่ยวกับข้อตกลงปารีสที่มีเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิของโลกให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

การที่เราจะจำกัดอุณหภูมิโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสนั้น จะต้องลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ให้เหลือเพียงครึ่งเดียวจากปริมาณปัจจุบันให้ได้ภายในปี 2030 และเพื่อจะไปถึงภาวะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดสุทธิเป็นศูนย์ช่วงปี 2050 รวมถึงการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ลงเป็นปริมาณมาก ๆ ด้วย เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ และถ้าหากนำเรื่องสัดส่วนความรับผิดชอบมาพิจารณาร่วมด้วยแล้วนั้น ประเทศที่ร่ำรวยควรจะต้องลดการปล่อยก๊าซมลพิษมากกว่าประเทศยากจนเป็นอย่างมาก

ข้อกังวลอีกอย่างหนึ่ง คือ การลดปริมาณการใช้พลังงานลงมาก ๆ อาจทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมร่ำรวยลดลง รวมถึงการเกิดข้อจำกัดต่อความสามารถของประเทศยากจนที่จะพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศยากจนนั้นในบางครั้งเกิดจากการเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานและการลงทุนในเทคโนโลยีและบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

มีการประเมินเมื่อไม่นานมานี้กล่าวว่ามาตรฐานการดำรงชีพที่ดีสำหรับทุกคนสามารถบรรลุได้ในขณะที่ทำการลดการใช้พลังงานไปควบคู่กัน ตราบเท่าที่การบริโภคที่เกินควรก็ลดลงอย่างมากด้วย วิธีการที่ควรจะพิจารณามีดังนี้

1. เพิ่มการผลิตพลังงานสะอาดจากเทคโนโลยีที่ใช้คาร์บอนในปริมาณต่ำ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์   พร้อมลดการลงทุนและลดการผลิตพลังงานจากฟอสซิล (น้ำมัน) ควบคู่กันไป

2. ลงทุนในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ (อาคารที่มีฉนวนกันความร้อน, ขนส่งสาธารณะ)

3. ทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพได้พร้อมราคาที่สมเหตุสมผล (ไม่ว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับการใช้พลังงาน เช่น การทำอาหาร, การทำความร้อน, การทำความเย็น, การขนส่งและการติดต่อสื่อสาร) ในขณะเดียวกันก็ต้องทำการลดการอุปโภคและบริโภคที่มากเกินขนาดของกลุ่มคนที่มั่งคั่งร่ำรวยที่สุด

4. เปลี่ยนไปบริโภคอาหารที่ดีที่สุขภาพมากขึ้น โดยใช้วัตถุดิบที่ผลิตจากในพื้นที่ และทานผักผลไม้ตามฤดูกาล (เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากการทำการเกษตร)

5. นำเอาคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ

ผลการศึกษาหนึ่งได้ชี้ว่า การที่จะบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสได้ 50% นั้น จำนวนถ่านหินที่มีเหลืออยู่ในโลกประมาณ 90% จะต้องอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติดังเดิม โดยไม่ให้มีการลงทุนในเชื้อเพลิงฟอสซิลและขุดขึ้นมาใช้เพิ่ม

การขาดการร่วมมือกันในระดับโลก รวมถึงการมีวิถีชีวิตที่เพิ่มการใช้คาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา หากการให้คำมั่นสัญญาในปัจจุบันภายใต้ข้อตกลงปารีสในการตั้งเป้าหมายของแต่ละประเทศในการลดปัญหาโลกร้อนบรรลุผลได้ โลกเราก็ยังคงจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาได้ และอาจจะก้าวขึ้นไปถึงอุณหภูมิระดับ 3 องศา ซึ่งจะเกินเป้าหมายของข้อตกลงปารีสไปมาก และยังเกินระดับที่จะถือว่าปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติด้วย

C. ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษเป็นลบ

สถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษในระดับ “ต่ำ” และ “ต่ำมาก” ขึ้นอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะใช้ในการกำจัดก๊าซเรือนกระจกที่ชื่อว่าเทคโนโลยีที่ “ปล่อยมลพิษเป็นลบ” ซึ่งจะนำมาใช้ในครึ่งหลังของศตวรรษนี้

นักวิทยาศาสตร์หลายคนกังวลว่าการให้คำมั่นสัญญาในอนาคตเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ดังเช่นการเอาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ จะทำให้การลงมือทำในสิ่งที่จะต้องทำเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะยิ่งช้าไปอีก ในอดีตอุตสาหกรรมที่มีอำนาจมากเคยใช้การให้คำมั่นสัญญาในเรื่องการใช้เทคโนโลยีผลิตน้ำมันและเชื้อเพลิงเพื่อที่จะได้มีความชอบธรรมในการผลิตต่อไป เทคโนโลยีเฉกเช่น “ตัวดักจับคาร์บอน” ยังไม่สามารถเกิดขึ้นในระดับที่ใช้งานได้จริงได้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงเกิดคำถามสำคัญตามมาว่าเราจะพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านั้นได้จริงหรือไม่

D. อะไรที่เราสามารถจะทำนายได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างแน่นอนได้ การใช้ชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศคือการใช้ชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอน ในหัวข้อนี้เราจะมองถึงวงจรสะท้อนกลับและจุดพลิกผันซึ่งเป็นตัวอย่างของความไม่แน่นอนของสภาพอากาศในอนาคต

ให้นึกถึงน้ำในแก้วที่ล้นออกมา โดยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ใส่ลงไปในแก้ว การที่เราใส่น้ำเข้าไปเรื่อย ๆ ในแก้วจนถึงจุดหนึ่งที่น้ำในแก้วล้นออกมา ซึ่งหมายความว่า เมื่อน้ำในแก้วล้นออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะน้ำจะกลับเข้าไปในแก้วอีก

จุดพลิกผันของอากาศ (หรือจุดสิ้นสุดของน้ำแข็งซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักของสภาพภูมิอากาศ) คือจุดเปลี่ยนของช่วงเวลาที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ เมื่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลเสียหายซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้และกระจายไปทั่วโลกเหมือนโดมิโน่ และเมื่อจุดพลิกผันนี้ได้มาถึง ก็จะเกิดเหตุการณ์ตามลำดับซึ่งนำไปสู่สภาวะการสร้างโลกที่ไม่เอื้ออำนวยต่อมนุษย์และรูปแบบวิถีชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศได้นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับจุดพลิกผันนี้เมื่อ 2 ทศวรรษที่แล้ว จุดพลิกผันที่เป็นไปได้คือการละลายของแผ่นน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาซึ่งนำไปสู่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีรายงานว่าแผ่นน้ำแข็งหรือธารน้ำแข็งกรีนแลนด์จะหายไปหากระดับอุณหภูมิโลกร้อนถึง 1.5 องศาเซลเซียส แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผ่านไปแล้วหลายปี

ในเดือนกรกฎาคมปี 2021 คลื่นความร้อนทำให้เกาะกรีนแลนด์นี้กลับกลายเป็นน้ำและไหลลงมาเข้ารัฐฟลอริดาในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ระดับน้ำสูงถึง 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตรภายในวันเดียว ทะเลน้ำแข็งจะมีการละลาย

และหดตัวอย่างรวดเร็วในมหาสมุทรอาร์กติกหากอุณหภูมิโลกแตะ 2 องศา มหาสมุทรอาร์กติกนี้มีโอกาส 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ที่จะกลายเป็นพื้นดินที่ปราศจากน้ำแข็งในหน้าร้อน

จุดพลิกผันที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งคือ การทำลายล้างและการเสื่อมโทรมของป่าฝนเป็นจำนวนมากอย่างเช่นป่าอะเมซอนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ ประมาณการว่าจุดพลิกผันของป่าอะเมซอนนี้เกิดขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมาจากการตัดไม้ทำลายป่าถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี 1970 มามีการสูญเสียมากถึง 17% แล้ว และพื้นที่เป็นวงกว้างหลาย ๆ จุดเกิดความสูญเสียมากขึ้นเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่าทุก ๆ นาที

จุดพลิกผันอย่างเช่นการละลายของแผ่นน้ำแข็ง การตัดไม้ทาลายป่า การละลายของดินเยือกแข็งและการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรหรือจุดพลิกผันของเหตุการณ์ทั้งหมดนี้รวมกัน ก่อให้เกิดวัฏจักรซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “วงจรสะท้อนกลับ” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของผลกระทบเหล่านี้ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นที่มากขึ้นไปอีก

ตัวอย่างของวงจรสะท้อนจากนี้พบได้ในมหาสมุทรอาร์กติก ก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งถูกกักเก็บไว้ในบริเวณชั้นดินเยือกแข็งของมหาสมุทรอาร์กติก เนื่องจากว่าโลกร้อนเป็นสาเหตุทำให้ชั้นดินเยือกแข็งนี้ละลาย ทำให้ก๊าซมีเทนที่จัดเก็บอยู่ในบริเวณนี้ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งนำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่สูงขึ้น และภาวะโลกร้อนที่สูงขึ้นนี้จะย้อนกลับไปทำการละลายชั้นดินเยือกแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกต่อไป ทำให้มีก๊าซมีเทนเพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกและทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนสูงขึ้น เกิดเป็นวงจรอันตรายที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้

วงจรสะท้อนกลับนี้ ไม่ได้เป็นระบบแน่นอน ซึ่งหมายความว่าวงจรสะท้อนกลับนี้สามารถเกิดได้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน และเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำนายได้ นั่นจึงหมายความว่าในปัจจุบันเราจึงอาจจะอยู่ในช่วงของจุดพลิกผันแล้วก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโลกที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้

ในอีก 10 ปีข้างหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่วิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีที่สุดในภาวะปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะยังคงเป็นไปได้ที่จะเราจะไม่สามารถทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเข้าใจนี้สร้างความรู้สึกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่คงยังมีโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จในการแก้ปัญหา ยังคงมีเวลาพอที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ ถ้ามีการกระทำอย่างจริงจังเกิดขึ้นในขณะนี้

การกระทำอะไรที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

6 ปีผ่านมาแล้วหลังจากที่ได้มีการสร้างข้อตกลงปารีส มีการดำเนินงานอย่างไรบ้างของประเทศต่าง ๆ ในโลก เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการลดภาวะการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอะไรที่พวกเราจำเป็นต้องทำให้มากกว่านี้

การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน

หนึ่งในการกระทำที่สำคัญที่สุดสาหรับทศวรรษนี้คือการเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานทดแทน แม้ว่าการเติบโตของพลังงานทดแทนจะสำคัญในการจะทำให้โลกเราออกจากการใช้พลังงานฟอสซิลแต่การเพิ่มขึ้นของพลังงานทดแทนก็ก่อให้เกิดการใช้พลังงานทุกอย่างมากขึ้นตามไปด้วย

พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการใช้พลังงาน การลดพลังงานถ่านหินเป็นจำนวน 70% ให้ได้ภายในปี 2030 หมายถึงการเพิ่มพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมให้มากถึง 5 เท่า ซึ่งเท่ากับการเลิกใช้พลังงานถ่านหินและการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 2,400 แห่งทั่วโลกภายในศตวรรษหน้า การใช้มาตรการเพื่อเปลี่ยนการใช้พลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานทดแทนมักจะเกิดค่าใช้จ่ายสูง แต่การทำให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศลดน้อยลงได้นั้น มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการที่มนุษย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่มาก

นอกจากนี้ มนุษย์จะได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เช่น การลดปริมาณมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมักเกิดจากการใช้น้ำมันและยานพาหนะ

ในปัจจุบันพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าโรงถ่านหินในหลาย ๆ ประเทศ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ช่วยให้มนุษย์เสียค่าไฟถูกที่สุดเท่าที่เคยมีมา

การนำโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานกลับมาใช้ใหม่ในช่วงแรกนี้มีความจำเป็นต่อการให้คำมั่นสัญญาในข้อตกลงปารีส งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การปล่อยให้แหล่งพลังงานฟอสซิลที่มีอยู่ถูกนำมาใช้จนกระทั่งถึงอายุขัยที่คาดหวังไว้ จะทำให้ไม่สามารถรักษาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่า 1.5 และ 2 องศาเซลเซียสได้

การเพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาดมีความสำคัญต่อการบรรลุถึงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และในขณะเดียวกันยังมีความสำคัญต่อการจำกัดภาวะโลกร้อน พลังงานสะอาดนี้สามารถลดมลพิษทางอากาศทั้งในร่มและกลางแจ้ง ความยากจน รวมไปถึงการบริการหลัก เช่น การสูบน้ำ การใช้แสงสว่างในครัวเรือน

การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2040 สิ่งนี้จำเป็นต้องมีการเพิ่มเข้าไปในเรื่องต่าง ๆ เช่น การขนส่ง (รถยนต์ไฟฟ้า) ด้านครัวเรือน เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน รวมไปถึงประสิทธิภาพจากโรงงานอุตสาหกรรม ครัวเรือนทั่วโลกจะสามารถประหยัดไปได้มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในเรื่องของบิลค่าใช้จ่ายจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สธรรมชาติเพื่อการหุงต้มและเครื่องทำความร้อน รวมไปถึงเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ

การอนุรักษ์และการฟื้นฟู

ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นดิน มลพิษทางน้ำและทางอากาศนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกันทั้งหมด การท้าทายที่สำคัญ คือ การตระหนักถึงการเชื่อมโยงกันของเหตุการณ์ทั้งหมดนี้และเพื่อให้มั่นใจว่าการกระทำที่จะแก้ปัญหาสิ่งหนึ่งจะไม่มีผลกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างไม่คาดคิด เช่น การแทนที่การปลูกพืชพันธุ์พื้นเมืองด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการจัดหาพลังงานชีวภาพ หรือ การทำลายระบบนิเวศเพื่อที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทดแทน การปลูกป่าขนาดใหญ่ด้วยพืชพื้นเมืองเป็นการแก้ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นดินและมลพิษทางน้ำและทางอากาศไปพร้อม ๆ กัน

การรักษาระบบนิเวศเป็นการเพิ่มความสามารถของป่า มหาสมุทรและดิน ที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกวันนี้ธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวที่สามารถดึงดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจานวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่ปลดปล่อยมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกในปริมาณที่เท่ากันระหว่างระบบนิเวศบนบกและมหาสมุทร ส่วนที่เหลือยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศและเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน ปัจจุบันนี้ป่าไม้ได้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 1 ใน 4 ของปริมาณที่ปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งยังคงมีศักยภาพในการกักเก็บได้มากกว่านั้นมาก

การเกษตรกรรมเป็นตัวผลักดันที่สำคัญยิ่งต่อการสูญเสียความหลากหลายทางด้านชีวภาพและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงจากระบบการผลิตอาหารเป็นการใช้วิธีทางเกษตรกรรมโดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวช่วย เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการรักษาระบบนิเวศวิทยาทางธรรมชาติและความสามารถของดินที่จะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเกษตรที่ยั่งยืนมีความสามารถในการอนุรักษ์และรักษาดินและระบบนิเวศ ทั้งยังช่วยปรับปรุงความหลากหลายทางด้านชีวภาพของท้องถิ่นมากกว่าที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เสื่อมสภาพลง เกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรหญิง คือความท้าทายอย่างหนึ่งในการบรรลุความสำเร็จในเรื่องความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารอย่างยั่งยืนและมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบทบาททางการเงิน การศึกษาและการอบรม รวมไปถึงเทคโนโลยีและสารสนเทศ

จิตสำนึกต่อโลก

จากรายงานพิเศษเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน 1.5 องศาเซลเซียสของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (IPCC) ในปี 2018 และหน่วยงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการของระบบนิเวศ (Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services-IPBES) ซึ่งประเมินในปี 2019 ได้กล่าวว่าจิตสำนึกของโลกที่เกี่ยวกับวิกฤตทางภูมิอากาศและวิกฤตระบบนิเวศได้เพิ่มมากขึ้นมากมายอย่างเห็นได้ชัด

ในปี 2021 นี้ สหประชาชาติได้ตีพิมพ์ผลของการโหวตสภาพภูมิอากาศของประชาชนจำนวน 1.2 ล้านคนทั่วโลก เป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ประชาชนได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยมีหลายประเทศที่ได้เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้

ผลของการโหวตสภาพภูมิอากาศของประชาชนเกือบจะ 64 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนใน 50 ประเทศทั่วโลก เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนของโลก นี่คือข้อมูลที่สำคัญสำหรับรัฐบาลทุกประเทศที่จะมุ่งไปสู่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในขณะนี้

การโหวตสภาพภูมิอากาศของประชาชนพบได้ว่ามีการสนับสนุน สูงทั่วโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าและพื้นดิน การใช้พลังงานทดแทน การใช้เทคนิคทางด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการลงทุนในธุรกิจสีเขียวหรือองค์กรที่จัดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในประเทศที่มีการตัดไม้ทำลายป่าในระดับสูง เช่น ประเทศบราซิล อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินานั้น มีประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้ให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์ป่าและผืนดิน และในอินเดีย การอนุรักษ์ป่าและดินถือเป็นนโยบายที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสามรองจากเรื่องการใข้พลังงานทดแทนและการทำฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อภูมิอากาศ  

และประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับสูงเนื่องมาจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องทำความร้อน ได้แก่ ประเทศอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี อเมริกาใต้ ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ได้สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

ผลของการสำรวจนี้สำคัญอย่างมากเพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างกว้างขวางต่อการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งผลสำรวจนี้ได้มาจากกลุ่มประชาชนจำแนกตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา เชื้อชาติและเพศ

นอกเหนือจากการสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงและสิทธิพลเมืองแล้วนั้น แต่ละบุคคลสามารถที่จะเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปสู่การใช้คาร์บอนระดับต่ำในอนาคตได้โดยการกระทำของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคลมีบทบาทในการที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประชากรในหลายประเทศจะมีบทบาทในการลดก๊าซนี้มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละคน เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตัวเอง เช่น การทานอาหารให้น้อยลงหรือไม่ทานเนื้อสัตว์ และพฤติกรรมในการเดินทาง เช่น ลดการขับรถให้น้อยลงหรือลดการเดินทางโดยเครื่องบินให้น้อยลง หรือลดพฤติกรรมการกินทิ้งกินขว้าง และลดพฤติกรรมในการใช้น้ำและพลังงานที่มากเกินไป พฤติกรรมเหล่านี้สามารถช่วยอนุรักษ์และปกป้องความหลากหลายทางด้านชีวภาพ ประชาชนทุกคนควรที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยการปลูกจิตสานึกในชุมชนของตนเอง

การกระจายความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นธรรม

ในศตวรรษที่ผ่านมา บางประเทศมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมากและประเทศอื่นเริ่มทำการปล่อยก๊าซพิษนี้ตามลำดับ ซึ่งเหตุผลของการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซทั่วโลกทุก ๆ ปีในขณะนี้ เป็นสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง ทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซพิษในศตวรรษนี้เกือบทั้งหมดจะมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา

ประเทศร่ำรวยอย่าง เช่น ประเทศอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปได้จ้างให้ประเทศจีนและประเทศอินเดียทำการผลิตระบบอาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ชั้นบรรยากาศโลก เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประชาชนทั่วโลกใช้นั้นผลิตมาจากประเทศจีน สิ่งที่ประเทศร่ำรวยได้ทำนี้ เป็นเพียงการย้ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปยังประเทศจีนและอินเดีย มากกว่าจะเป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง

ความแตกต่างในเรื่องของผลกระทบระหว่างประเทศที่ต้องรับผิดชอบสูงสุดต่อสาเหตุการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากผลกระทบนี้เป็นการยากที่จะเข้าใจได้ ประเทศที่ร่ำารวยที่สุดมีเพียง 1% ของประชากรโลก แต่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่า 2 เท่าของประชากรโลกที่เป็นคนจน ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น มีทรัพยากรที่ดีที่สุดเพื่อเป็นผู้นำในขณะนี้ สถานการณ์ของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันนี้ทำให้ข้อตกลงปารีสเรียกร้องให้มี “การลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็ว” เพื่อให้เกิดความสำเร็จ”บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความพยายามที่จะลดความยากจนลง”

ทุกวันนี้ มีการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแก้ไขสภาพภูมิอากาศได้ถูกนำมาอภิปรายในข้อตกลงปารีสเรื่องการปรับตัวอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับชุมชนต่าง ๆ ในส่วนต่าง ๆ ของโลก

ความท้าทายในการปรับตัวต่อเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงนั้นจะยากลำบากกว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากว่าผลกระทบจากเรื่องนี้มีความรุนแรงกว่าในประเทศเหล่านี้ และหลาย ๆ ประเทศไม่มีเงินทุน โครงสร้างพื้นฐาน หรือความสามารถทางเทคโนโลยีที่เพียงพอในการปรับตัว

สิ่งนี้จะถูกนำมาปรับใช้ตามมาตรการของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องโอกาสและความเท่าเทียมหรือที่เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิในการพัฒนาตนเอง

ยิ่งโลกของเราร้อนมากขึ้นเท่าไร ภาคส่วนต่าง ๆ ยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศมีมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเกิดความยากลำบากในการปรับตัว ชุมชนที่ยากจนและถูกกีดกัน ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือยากจนก็ตาม มักไม่มีความสามารถพื้นฐานที่จะปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น

ในหลาย ๆ ครั้ง การปรับตัวเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง เช่น ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้อีกต่อไป เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแหล่งน้ำ โดยทั่วไปแล้วประเทศที่กำลังพัฒนามีความเปราะบางที่สุดต่อผลกระทบของเรื่องนี้ รวมทั้งยังมีปัญหาด้านเงินทุนและเทคโนโลยีอีกด้วย

นอกเหนือไปจากนี้ การถูกคุกคามทางสังคมของชุมชนเหล่านี้ถูกผูกติดกับกระบวนการที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ได้แก่การล่าอาณานิคม การนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติระบบนิเวศวิทยาเสื่อมลง ซึ่งสิ่งนี้เป็นการสนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นและการควบรวมของพลังงานฟอสซิลในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

ประเทศที่ร่ำรวยมากกว่าครอบครองทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าประเทศที่ยากจนเพื่อใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายความว่าประเทศที่ยากจนต้องได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินและด้านเทคโนโลยี ภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศวิทยา นั่นหมายถึงความท้าทายของการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่สูงขึ้น

127 ประเทศรวมถึงประเทศอินเดียจากทั้งหมด 196 ประเทศที่ให้คาสัตยาบันต่อความตกลงปารีส เป็น ประเทศที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขบางส่วนหรือทั้งหมด นั่นหมายถึงว่า ถ้าหากปราศจากการสนับสนุนทางด้านการเงินและทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศแล้ว คามั่นสัญญาที่ 127 ประเทศนี้ได้ให้ไว้ในความตกลงปารีสอาจจะไม่มีผล. คามั่นสัญญาภายใต้ข้อตกลงภายใต้

เงื่อนไขบางส่วนหรือเงื่อนไขทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่แล้วถูกหยิบยกขึ้นมาโดยประเทศที่ขาดแคลนความพร้อมทางการเงิน ศักยภาพทางเทคโนโลยี และความพร้อมขององค์กรของประเทศนั้นที่จะทาการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์.

การให้คำมั่นสัญญาของประเทศที่กล่าวมานี้อาจไม่สามารถสาเร็จได้เพราะว่าการสนับสนุนระหว่างประเทศที่เกิดเป็นรูปเป็นร่างแล้วมีเพียงเล็กน้อย.

เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบระหว่างรุ่นของคน หมายถึงคนรุ่นเก่าได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยมีผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในขณะที่คนรุ่นใหม่กาลังได้รับผลที่ตามมาของการกระทำนี้

การประชุมสุดยอดด้านภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (COP26) และก้าวต่อ ๆ ไป

เรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนของสภาพอากาศและระบบนิเวศได้เกิดขึ้นกับเราแล้วและกำลังจะเลวร้ายลงเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องและมนุษย์ยังคงทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อทศวรรษก่อนหน้านี้ และเกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการจำกัดภาวะโลกร้อนสูงสุดที่อุณหภูมิ 1.5 องศานั้น เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างหนักภายในปี 2020 ถึง 2030 และในทศวรรษข้างหน้า

5 ปีที่แล้วมีความสำเร็จเกิดขึ้นในด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้กลายเป็นพลังงานที่มีราคาถูกกว่าและนำไปใช้ได้ง่ายกว่าแหล่งพลังงานอื่น ๆ มากกว่าที่คาดไว้ รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นยานพาหนะที่หาได้ง่ายและมีอยู่ทั่วไปมากกว่าในอดีต และเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำมีการแข่งขันกันสูงในตลาดและกำลังเติบโตเพิ่มขึ้นขณะนี้จากความจำเป็นที่จะต้องลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ยากที่สุดที่จะใช้พลังงานโดยไม่ให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รายงานในปี 2018 ของอุตสาหกรรมการบินพบว่า แผนการที่จะปรับปรุงเทคโนโลยีและการปฏิบัติการทางการบินจะไม่ทำให้ความต้องการพลังงานฟอสซิลและการปล่อยก๊าซจากพลังงานฟอสซิลนี้ลดลงได้ ปัจจุบันจึงได้มีแผนการที่กำลังจะเกิดขึ้นในการดำเนินการกับอุตสาหกรรมหนักในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงชั้นบรรยากาศโลก

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังคงเป็นเรื่องจำเป็นในการหาคำตอบให้กับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิถีชีวิตของแต่ละคนครอบคลุมในด่านต่าง ๆ เช่น การบริโภคอาหาร ที่อยู่อาศัย การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การรับบริการโดยในขณะนี้ข้อตกลงปารีสได้ตั้งเป้าหมายในการที่จะลดจำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการประชุมของสมัชชาภาคีของผู้นำประเทศต่าง ๆ ณ เมืองกลาสโกว์ จึงคาดว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างแผนงานในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ความตกลงปารีสได้ตั้งเอาไว้ คำถามที่สำคัญสำหรับการประชุมนี้ คือ จะทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลและทำอย่างไรจะเปลี่ยนจากการให้คำมั่นสัญญาในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ไปเป็นการกระทำอย่างจริงจังและบรรลุผลได้ การพัฒนาในขั้นตอนต่อไปนั้นจำเป็นต้องมีผู้นำจากทุกระดับชั้น ตั้งแต่รายบุคคล ไปจนถึงนักธุรกิจ นักลงทุน รัฐบาล และรวมถึงสมัชชาโลก

อภิธานศัพท์

Adaptation

การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Carbon budget

ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ประเทศ บริษัท หรือองค์กร ได้ตกลงกันแล้วว่าเป็นปริมาณก๊าซที่มากที่สุด ซึ่งจะถูกผลิตขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง

Carbon dioxide (CO2)

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ประกอบไปด้วยคาร์บอน 10 ส่วนและออกซิเจน 2 ส่วน)

Conference of the Parties (COP)

การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ตัดสินใจ ตรวจสอบและทบทวนการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

Decarbonizing

การลดจำนวนของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยผ่านการใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำหมายเพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยน้อยลงสู่ชั้นบรรยากาศ

Economic growth

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณของสินค้าและบริการในตลาด เช่น เศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจวัดได้จาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP (จีดีพี)

Equity

หลักการที่กำหนดขึ้นซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไปบนความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง

กันระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมสากลที่ครอบคลุมเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้รับผิดชอบในระดับที่เท่า ๆ กัน

Exploit/exploitation

การใช้บุคคลหรือบางสิ่งบางอย่างโดยไม่เป็นธรรม ช่วยเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง โดยขาดการดูแลเอาใจใส่สิ่งนั้นซึ่งถูกเอารัดเอาเปรียบ

Extinction

การสูญพันธุ์ โดยการสูญพันธุ์นี้เกิดขึ้นเมื่อสายพันธุ์ชุดสุดท้ายที่เหลืออยู่ได้ตายลง

GDP

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าที่ได้จากการผลิตสินค้าและบริการในประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

Greenland ice sheet

แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นบริเวณบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่กว้างขวางครอบคลุม 1,710,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 79% ของเกาะกรีนแลนด์ เป็นบริเวณที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกต่อจากแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติก

Geenhouse

ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วยก๊าซ 6 ชนิดตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) คือ 1. คาร์บอนไดออกไซด์ 2. มีเทน 3. ไนตรัสออกไซด์ 4. ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ 5. ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน และ 6. เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน

Indigenous people

คำจำกัดความที่ชัดเจนของคำว่า “ชนพื้นเมือง” ยังไม่มีการระบุจากองค์การสหประชาชาติ แต่ตามความหมายทั่วไปนั้น ชนพื้นเมือง คือกลุ่มคนที่เป็นลูกหลานบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการเข้ามาของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่เข้ามาทีหลังกลายมาเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่าผ่านการยึดครอง ชัยชนะการรบ การย้ายมาตั้งรกรากถาวร หรือวิธีการอื่น ๆ มีการประมาณว่าจำนวนชนพื้นเมืองมีอยู่ 370 ล้านคน ซึ่งกระจายอยู่ 70 ประเทศทั่วโลก

Industrial Revolution

การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากการเกษตรและงานฝีมือไปสู่เศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรมและการผลิตเครื่องจักร ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)

คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานระหว่างรัฐบาล สหประชาชาติ ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นกลางทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ รวมถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ การเมือง เศรษฐกิจ ความเสี่ยงต่าง ๆ และทางเลือกในการรับมือ

Low carbon

คาร์บอนต่ำ หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิในปริมาณต่ำเข้าไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก

Mitigation

การบรรเทาทุกข์  การลดความเลวร้ายหรือความรุนแรงของบางสิ่งบางอย่าง

Nationally determined contributions (NDC)

เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยครอบคลุมถึงประเทศที่ได้ยื่นข้อตกลงเข้าร่วมในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

Negative emissions

การปล่อยมลพิษเป็นลบ เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่ใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศของโลก

Net-zero

แนวคิดในการจัดการเพื่อทำให้เกิดสมดุลในการปล่อยและการกำจัดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์เป็นค่าสุทธิเท่ากับศูนย์ เราจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้เมื่อปริมาณก๊าซที่ปล่อยเข้าไปในชั้นบรรยากาศน้อยกว่าปริมาณที่กำจัดออกจากชั้นบรรยากาศ

Paris Agreement

ความตกลงปารีส หรือ ข้อตกลงปารีส คือ ข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลบังคับใช้และมีผลผูกพันทางกฎหมาย ข้อตกลงนี้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี 2015

Pollution

มลพิษหรือสารอันตรายที่ถูกสร้างขึ้นมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ขยะในมหาสมุทร หรือสารเคมีจากการเกษตร

Scientific Revolution

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17  ในระหว่างช่วงเวลานี้ ศาสตร์กลายเป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งแต่งต่างจากปรัชญาและเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ได้แทนที่ศาสนาคริสต์และกลายเป็นจุดเปลี่ยนหลักของอารยธรรมตะวันตก


การแปลงอุณหภูมิอากาศจากองศาเซลเซียส (C) เป็นองศาฟาเรนไฮต์ (F)

1.00C = 1.80F

1.20C = 2.60F

1.50C = 2.70F

2.00C = 3.60F

2.50C = 4.40F

3.00C = 5.40F

3.50C = 6.20F

4.00C = 7.20F

4.50C = 8.10F

5.00C = 8.80F

6.00C = 10.80F

เครดิต

จุลสารข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการอบรมเชิงวิชาการของสมัชชาโลก

คณะกรรมการฝ่ายความรู้และภูมิปัญญาของสมัชชาโลกได้เป็นผู้ดำเนินการเรียบเรียงเอกสารนี้ โดยเป้าประสงค์ของคณะกรรมการนั้นก็เพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ที่ยึดมั่นในหลักฐานและจัดทำชุดคำถามที่ใช้เป็นประเด็นขบคิดแก่สมาชิกสมัชชา รวมทั้งเนื้อหาในจุลสารนี้

สมาชิกของคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบของโลก, การเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ, วิศวกรรมและธรณีวิทยา, ความรู้จากชนพื้นเมือง, นิเวศวิทยา, วิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ, เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม, การปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศและประเทศที่เปราะบาง, จิตวิทยาด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้

โดยมีประธานคณะกรรมการ คือ ศาสตราจารย์บ็อบ วัตสัน (Bob Watson) อดีตประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) และอดีตประธานหน่วยนโยบายวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติเรื่องการให้บริหารด้านความหลากหลายทางชีววิทยาและระบบนิเวศ (IPBES)

สมาชิกคณะกรรมการมีดังนี้

● ดร นาฟีซ อาเหม็ด, System Shift Lab, สหราชอาณาจักร

● ดร.สจวร์ต แคปสติก, Centre for Climate Change and Social Transformation, มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์, เวลส์

● ศาสตราจารย์ เพอร์นามิตา ดาสคุปตะ, Institute of Economic Growth, กรุงเดลฮี

● ศาสตราจารย์ ซาลีมุล ฮุค, International Centre for Climate Change and Development (ICCCAD), ประเทศบังคลาเทศ

● โยติ หม่า (สหรัฐอเมริกา) และ มินดาฮี บาสทิด้า มูนอซ (ประเทศเม็กซิโก), The Fountain, Sacred Economics, Indigenous Wisdom Keepers

● ศาสตราจารย์ ไมเคิล เอ็น โอติ, ธรณีวิทยาทางปิโตรเลียม, มหาวิทยาลัยพอร์ท ฮาร์คอร์ท ประเทศไนจีเรีย

● ศาสตราจารย์ จูเลีย สไตน์เบอร์เกอร์, เศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศ, มหาวิทยาลัยโลซานน์, ประเทศสวิสเซอร์แลนด์


จุลสารข้อมูลนี้ได้รับการปรับปรุง 12 ครั้ง และถูกเขียนขึ้นโดยนักข่าวชื่อ Tarn Rogers Johns และได้รับคำแนะนำและความคิดเห็นจาก Claire Mellier และถูกปรับปรุงเพิ่มเติมโดย Nathalie Marchant ความคิดเห็นจากฉบับร่าง ๆ ต่างมาจาก ดร. Lydia Messling, Will Bugler และ Georgina Wade ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารด้านสภาพอากาศจากกลุ่มที่ปรึกษาจากบริษัท Willis Towers Watson และจากพาร์ทเนอร์ของสมัชชาโลก