Community:จุลสารข้อมูล

From Global Assembly Wiki
Revision as of 08:34, 25 October 2021 by Onusa (talk | contribs) (Created page with "== <big>คำนำ</big> == การประชุมสมัชชาโลกคือการรวมตัวกันของผู้คนในทุกปร...")
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

คำนำ

การประชุมสมัชชาโลกคือการรวมตัวกันของผู้คนในทุกประเทศทั่วโลกเพื่อถกเถียงปัญหาวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา


สมัชชาพลเมืองคืออะไร

สมัชชาพลเมืองคือกลุ่มคนที่มาจากวิถีชีวิตหลากหลายมารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง เพื่อทำในสิ่งที่เป็นไปได้ เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและผู้นำทางความคิด และเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง. สมาชิกของสมัชชาพลเมืองนี้เป็นตัวแทนที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในการตั้งคำถามต่อเมืองหรือประเทศ (ในที่นี้คือต่อโลก) โดยดูจากฐานข้อมูลประชากร เช่น เพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษา


สมัชชาโลกคืออะไร

สมัชชาโลกปี 2021 ประกอบไปด้วยจำนวนสมัชชาแกนนำพลเมือง 100 ท่าน เป็นการรวมตัวของชุมชนระดับท้องถิ่นซึ่งทุกคนสามารถที่จะจัดตั้งได้ทุกพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมซึ่งผู้คนเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ในปีนี้องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดการประชุมผู้นำระดับโลก คือ 1. การประชุมของภาคีในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือที่เรียกว่าการประชุม COP26 และ 2. การประชุมเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ หรือที่เรียกว่าการประชุม COP15 โดยในการที่จะนำไปสู่การเจรจาของการประชุมของทั้งสองนี้ สมัชชาแกนนำ (Core Assembly) ได้รวบรวมคนหนึ่งร้อยคน ซึ่งเป็นตัวแทนภาพรวมของประชากรโลก ให้เรียนรู้เกี่ยวกับวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางชีวภาพ เพื่อที่จะพิจารณาไตร่ตรองและแบ่งปันข้อมูลหลักที่จะนำไปแสดงต่อที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2021 โดยในปีนี้สมัชชาโลกจะพิจารณาการจัดประชุมในหัวข้อที่ว่า “ทำอย่างไรมนุษยชาติจะแก้ไขปัญหาวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม”


คำแนะนำเกี่ยวกับจุลสารการเรียนนี้

ข้อมูลและจุลสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูลที่จะนำไปประกอบการเรียนและขั้นตอนการพิจารณาของสมัชชาโลก จุดประสงค์ของอุปกรณ์การเรียนการสอนนี้คือการให้ข้อมูลเพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถให้ความเห็นของตัวเองเกี่ยวกับวิกฤตทางภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยาได้

เราหวังว่าเอกสารนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องที่ผู้เรียนจะนำไปปฏิบัติตามในปีต่อ ๆ ไป และเราสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่ท้าทายองค์ประกอบของเนื้อหาที่อยู่ภายในจุลสารเล่มนี้ และนำคำถามที่ท้าทายแนวคิดต่าง ๆ นี้รวมถึงบทสรุปของเนื้อหานี้ไปสู่สมัชชาโลก

วิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยานี้เป็นหัวข้อที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นผลมาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเมืองเศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน  ถึงแม้ว่าวิกฤตนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาในปัจจุบัน แต่ต้นเหตุหลักของปัญหาได้ย้อนกลับไปหลายชั่วอายุคนอย่างน้อยถึง 2 ศตวรรษ

จุลสารเล่มนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อที่สำคัญที่สุดบางหัวข้อซึ่งเกี่ยวกับวิกฤตทางสภาพอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา.  เอกสารการเรียนการสอนนี้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติได้มารวมตัวกันเพื่อให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการร่างจุลสารเล่มนี้ ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของสมัชชาโลก

ไม่ต้องรีบร้อนที่จะอ่านเอกสารภายในครั้งเดียว เอกสารนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและพวกเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรสมัชชาโลกและเพื่อที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

มีแหล่งข้อมูลเสริมในจุลสารเล่มนี้ ได้แก่ วิดีโอ ภาพการแสดง ภาพประกอบ และคำบอกเล่าจากประสบการณ์จริง รวมทั้งข้อมูลจุลสารนี้ในภาษาต่าง ๆ ซึ่งสามารถหาได้ที่เว็บไซต์ Wiki  ของสมัชชาโลก.

รายละเอียดเพิ่มเติมของความหมายของศัพท์ที่ไฮไลท์เป็นตัวหนา สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บริบทในตอนท้ายของจุลสารเล่มนี้ จุลสารเล่มนี้ใช้หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นค่าเซลเซียสหากต้องการแปลงค่าเซลเซียสเป็นฟาเรนไฮน์ให้ไปที่หัวข้ออภิธานศัพท์

สรุปเนื้อหาในภาพรวม

โลกของเราจะเป็นอย่างไรในปี 2050

ทารกที่เกิดทุกวันนี้จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจากการเสื่อมโทรมของธรรมชาติ ในตอนนี้คำถามไม่ใช่คำว่า “ถ้า” อีกต่อไป แต่เป็นคำถามว่า “มากเท่าไหร่” สิ่งที่เรากำลังทำทุกวันนี้ล้วนแต่มีผลกระทบต่อคนรุ่นหลังและการมีชีวิตอยู่ของเรา ว่าเราจะอยู่ไปได้นานอีกเท่าไหร่ แต่แม้ว่าอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะถูกปิดตาย เรายังคงมีเวลาที่จะกำจัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและยังคงมีเวลาที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดที่เป็นไปได้ของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยา

สาเหตุของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตทางนิเวศวิทยานั้นมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์และสามารถเชื่อมต่อกับโลกทัศน์ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการที่สังคมดำเนินอยู่ทุกวันนี้  มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและขึ้นอยู่กับธรรมชาติอย่างที่สุดในการที่จะดำรงชีวิตอยู่.

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเสื่อมโทรมของดิน มลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำ มีความเชื่อมโยงกันอย่างสูง คุณภาพชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในทุกมุมโลกและโอกาสสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นใหม่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวในวันนี้เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ การกลับไปใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ และแนวทางที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาตินั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในปีต่อไป บทสำรวจ  เมื่อไม่นานนี้พบว่าประชากรส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลกสนับสนุนการกระทำที่ช่วยในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ในทุกวันนี้ก็ตาม

ประเด็นสำคัญ:

  • กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในโลก การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกนั้นมีผลต่อสภาพภูมิอากาศและรูปแบบของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้  แต่ผลกระทบบางอย่างที่เลวร้ายที่สุดในอนาคตสามารถหลีกเลี่ยงได้ ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราทุกวันนี้
  • ผลของมลภาวะเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ สายพันธุ์ของพืชและสัตว์หนึ่งล้านสายพันธุ์ถูกคุกคามจนสูญพันธุ์
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพได้ทำลายสุขภาพของมนุษย์ ความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหาร ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและสุขภาพของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีสาเหตุมาจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มากไปในชั้นบรรยากาศของเรา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญที่สุดที่มนุษย์ผลิตขึ้นมา เกิดจากการที่มนุษย์เผาพลังงานฟอสซิลเพื่อใช้ในการขนส่งและเมื่อป่าถูกทำลาย เมื่อ 200 ปีที่แล้วนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุให้โลกร้อนถึง 1.2 เซลเซียส (หรือ 2.16 องศาฟาเรนไฮต์) วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าภาวะโลกร้อนจะเกิน 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) ในศตวรรษที่ 21 นี้ ถ้ายังไม่มีการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง ฟังดูเหมือนจะตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะไม่สูงมาก แต่นี่หมายถึงการสูญเสียชีวิตและการดำรงชีวิตของมนุษยชาติอีกหลายร้อยล้านคน

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หมายความว่า โลกของเราจะประสบปัญหาคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงปัญหาไฟไหม้ป่า การล้มเหลวของพืชพันธุ์ และยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของปริมาณน้ำฝน เช่น บางพื้นที่ฝนตกมากเกินไป บางพื้นที่ฝนตกน้อยเกินไป ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาอุทกภัย

กิจกรรมของมนุษย์บนโลกมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพืช สัตว์ เชื้อรา และจุลินทรีย์ ผลของมลภาวะเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การทำลายล้างแหล่งที่อยู่อาศัยตาธรรมชาติและการแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ ส่งผลให้ 1 ใน 8 ล้านสายพันธุ์ของพืชและสัตว์ถูกคุกคามจนถึงกับสูญพันธุ์

การขาดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งของพืชและสัตว์นี้ทำให้ระบบนิเวศอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อโรคได้ง่ายรวมถึงสภาพอากาศที่สุดขั้วซึ่งนำไปสู่ความสามารถน้อยลงในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดี

  • การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพบนดินมีความรุนแรงน้อยกว่าเมื่อได้รับการจัดการโดยชนพื้นเมือง

ความหลากหลายทางชีวภาพในโลกนี้ส่วนมากเกิดขึ้นบนดินแดนบรรพบุรุษที่เป็นดินแดนดั้งเดิมของชนพื้นเมือง วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาตินับพันปีและมีความรู้อันทรงคุณค่าสำหรับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศและสรรสร้างระบบชีวภาพ อย่างไรก็ดีประวัติศาสตร์อันยาวนานของการล่าอาณานิคมและการกีดกันกลุ่มคนต่าง ๆ ย่อมหมายความว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมถูกบังคับและถูกขับไล่ออกจากดินแดนบรรพบุรุษของตนที่เคยทำมาหากินมาก่อน หรือกลายเป็นผู้ลี้ภัยทางสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นระบบความรู้ ภาษา และวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ของชุมชนคนกลุ่มนี้จึงถูกทำลายไป

• ทุกประเทศไม่ใช่ว่าจะมีความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเท่า ๆ กัน กล่าวคือ ประเทศที่ร่ำรวยได้ผลิตก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเป็นประวัติกาล

การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศร่ำรวย อันได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป (อียู) ได้ผลิตก๊าซเรือนกระจกในประมาณมากที่สุดตลอดเวลาที่ผ่านมา และผลจากการที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นทั้งจากประเทศอย่างเช่น ประเทศจีนและประเทศอินเดีย ทำให้เกิดการพัฒนาตามประเทศที่ร่ำรวยที่กล่าวมานี้ ส่งผลให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและต้องพึ่งพาการเผาผลาญพลังงานฟอสซิลทุกปี

• หากยังไม่มีมาตรการการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเร่งด่วนรวดเร็ว พวกเราจะไม่สามารถจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 2 เซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) ได้ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์

การมีชีวิตอยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหมายถึงความไม่แน่นอนในการมีชีวิตอยู่ หนึ่งในความไม่แน่นอนทั้งหลายเหล่านี้ก็คือแนวคิดเกี่ยวกับจุดพลิกผันหรือจุดเปลี่ยนของช่วงเวลาที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ หรือที่เรียกว่า “จุดพลิกผันของสภาพอากาศ” หรือ “จุดเปลี่ยนของสภาวะอากาศ” ที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ เมื่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลเสียหายซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้และถูกกระจายไปทั่วโลกเหมือนโดมิโน และเมื่อจุดพลิกผันนี้ได้มาถึง ก็จะเกิดเหตุการณ์ตามลำดับซึ่งนำไปสู่การสร้างโลกที่ไม่เอื้ออำนวยต่อมนุษย์และรูปแบบวิถีชีวิตของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายได้อย่างแน่นอนว่าเมื่อไรจุดพลิกผันนี้จะไปถึงจุดอิ่มตัว

• ในปี 2015 ผู้นำโลกจะมีการพบปะกันที่เมืองปารีสเพื่อกำหนดข้อตกลงในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือ ถ้าเป็นไปได้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

• ตามที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPPC) ได้กล่าวไว้ว่า ภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียสจะมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จในปี 2040 อย่างไรก็ดี การตั้งเป้าหมายอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสก็ขึ้นอยู่กับระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกปล่อยออกมาในทศวรรษต่อ ๆ ไปด้วย

• ถ้าคำมั่นสัญญาของแต่ละประเทศในปัจจุบันที่จะลดจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรลุผลสำเร็จ (ซึ่งเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จไหม) ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ภาวะโลกร้อน  จะอยู่ที่ 3 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อยอยู่ดี ถึงแม้ว่าข้อตกลงปารีสในปี 2015 มีเป้าหมายที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสก็ตาม

• การให้คำมั่นสัญญาของประเทศยากจนต่าง ๆ ต่อข้อตกลงปารีสอาจจะไม่บรรลุผล เพราะประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ  และถึงตอนนี้การช่วยเหลือระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หลายประเทศคาดหวังว่าจะเพิ่มการให้คำมั่นสัญญาทุก ๆ 5 ปีตั้งแต่ข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ก็มีบางประเทศพบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีมาตรการดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้ถึงอุณหภูมิเป้าหมายที่ 1.5 องศาเซลเซียส จากการสำรวจของอุณหภูมิ ณ.ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนจะพุ่งสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2040 หรือเร็วกว่านี้ และจะเพิ่มสูงขึ้นถ้าไม่มีการลงมือปฏิบัติเพิ่มเติมขณะนี้

• เกือบ 2  ใน 3 หรือ 60% ของประชากรใน 50 ประเทศในขณะนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภาวะฉุกเฉินทั่วโลก

• เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่จะจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ในช่วงทศวรรษของปี 2020 จึงเป็นช่วงที่ต้องทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

ผู้นำระดับโลกจะมีการพบปะหารือกันในปีนี้ที่เมืองกลาสโกว์ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ รวมทั้งในประเทศจีน ที่ซึ่งผู้นำทั่วโลกจะพบปะพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางนิเวศวิทยา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรที่จะตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิกฤต 2 ด้านนี้ และพัฒนาเป้าหมายร่วมกัน รวมถึงการลงมือปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างจริงจัง

สืบเนื่องมาจากเป้าหมายในความตกลงปารีสที่ได้ตั้งไว้ การประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ควรจะเป็นการสร้างแผนงานอย่างละเอียดเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในความตกลงปารีสนี้ การพิจารณาที่สำคัญในระหว่างการประชุมที่เมืองกลาสโกว์ ได้แก่ จะตกลงกันอย่างไรเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะเวลาอันใกล้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โดยการเปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิล การพัฒนาคุณภาพของการใช้พลังงาน การจำกัดการตัดไม้ทำลายป่า และการหาวิธีที่จะเปลี่ยนการให้คำมั่นสัญญาที่จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ไปเป็นการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง